วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เฉลย o-net การงาน

ตรวจคำตอบ...ครั้งที่ 2

คุณได้คะแนน 0 / 40

คุณได้ระดับคะแนน F แย่จังทำไม่ได้เลย !

คำถามที่ 1 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 2 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 3 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 4 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 5 - ผิด -ตอบข้อ 2

คำถามที่ 6 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 7 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 8 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 9 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 10 - ผิด -ตอบข้อ 2

คำถามที่ 11 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 12 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 13 - ผิด ตอบข้อ 1

คำถามที่ 14 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 15 - ผิด -ตอบข้อ 2

คำถามที่ 16 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 17 - ผิด -ตอบข้อ2

คำถามที่ 18 - ผิด -ตอบข้อ 1

คำถามที่ 19 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 20 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 21 - ผิด -ตอบข้อ 2

คำถามที่ 22 - ผิด -ตอบข้อ 1

คำถามที่ 23 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 24 - ผิด -ตอบข้อ 1

คำถามที่ 25 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 26 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 27 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 28 - ผิด -ตอบข้อ 1

คำถามที่ 29 - ผิด ตอบข้อ 4

คำถามที่ 30 - ผิด -ตอบข้อ 1

คำถามที่ 31 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 32 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 33 - ผิด -ตอบข้อ 1

คำถามที่ 34 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 35 - ผิด -ตอบข้อ 2

คำถามที่ 36 - ผิด -ตอบข้อ 3

คำถามที่ 37 - ผิด -ตอบข้อ 4

คำถามที่ 38 - ผิด ตอบข้อ 4

คำถามที่ 39 - ผิด -ตอบข้อ 1

คำถามที่ 40 - ผิด ตอบข้อ 2

o-net การงาน

ข้อที่ 1)
การเลือกซื้อเสื้อผ้าต้องใช้หลักการข้อใด
ทันสมัย
ทนทาน
ตราสินค้ามีชื่อเสียง
วัตถุประสงค์ในการใช้งาน


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 2)
การตัดเย็บเสื้อผ้าให้ประหยัดพลังงานมีวิธีการอย่างไร
ถอดปลั๊กเตารีดและเสียบปลั๊กใหม่ทุกครั้ง
ทำงานในบริเวณที่ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ
เก็บกวาดทำความสะอาดให้เรียบร้อยหลังการตัดเย็บ
วางแผนขั้นตอนการทำงานและจัดเตรียมเครื่องมือให้พร้อม


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 3)
เพราะเหตุใดจึงต้องรับประทานอาหารมื้อเย็นน้อยกว่ามื้อเช้าและมื้อกลางวัน
เพราะกระเพาะอาหารต้องทำงานหนักในเวลานอน
เพราะจะทำให้นอนหลับไม่สนิทเนื่องจากอาหารไม่ย่อย
เพราะร่างกายต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่ในเวลากลางคืน
เพราะอาหารมื้อเย็นเป็นส่วนเกินที่ไปสะสมเปลี่ยนเป็นไขมันในร่างกาย


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 4)
ผลไม้ชนิดใด เมื่อนำมาอบแห้งแล้วทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากกว่าชนิดอื่น
แอปเปิ้ลอบแห้ง เพราะมีผู้นิยมบริโภค
อินทผลัมอบแห้ง เพราะเป็นของแปลก
ลำไยอบแห้ง เพราะเป็นผลไม้ในประเทศ
สตรอเบอร์รี่อบแห้ง เพราะขายได้ราคาแพง


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 5)
พฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัวข้อใดที่ทำให้เกิดปัญหาในครอบครัว
ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย
หมกมุ่นอบายมุข
กระเหม็ดกระแหม่
มีความระแวงต่อกัน


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 6)
ในกรณีที่ครอบครัวมีผู้สูงอายุ ต้องใช้หลักการข้อใดดูแลท่าน
ตามใจท่าน เพราะท่านคือผู้มีพระคุณ
พาท่านไปปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้ความสงบ
พาท่านไปอยู่บ้านพักคนชราจะได้มีเพื่อนวัยเดียวกัน
ให้ท่านช่วยทำงานบ้านเพื่อจะได้ไม่เหงาและรู้สึกมีคุณค่า


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 7)
การเลือกซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย ต้องใช้หลักการข้อใด
รูปแบบสวยงามทันสมัย
ราคาพอเหมาะกับรายได้
วัสดุความแข็งแรงทนทาน
การใช้งานตรงตามความการ


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 8)
แสงแดดตอนกลางวันทำให้บ้านร้อนระอุ ต้องแก้ปัญหาอย่างไร
ติดม่านบังแดด
ทำกันสาดบังแดด
ติดวัสดุกันความร้อน
ปลูกต้นไม้เพื่อบังแดด


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 9)
ไส้เดือนดินมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่ เพราะอะไร
ไม่มี เพราะนำเชื้อโรคมาสู่พืช
ไม่มี เพราะทำให้ดินเป็นกรด
มี เพราะทำให้เกิดการถ่ายเทอากาศในดิน
มี เพราะทำให้รากพืชเจริญเติบโต


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 10)
สุดาทำฟาร์มสุกรโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ข้อใดคือของเสียและผลพลอยได้จากสุกร ที่สุดาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
กระดูกสุกรและปุ๋ยอินทรีย์
มูลสุกรสดและอาหารเลี้ยงปลา
สุกรพ่อพันธุ์และสุกรแม่พันธุ์
ลูกสุกรและหมูหัน


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 11)
ข้อใดเป็นแนวคิดการผลิตสัตว์เศรษฐกิจเชิงระบบ
การเลี้ยงสัตว์ถูกต้องตามหลักการและใช้ความทันสมัยในการผลิตมากที่สุด
การเลี้ยงสัตว์ให้ได้จำนวนมากที่สุดและถูกต้องตามหลักวิชาการ
การเลี้ยงสัตว์ถูกต้องตามหลักวิชาการและนำของเสียและเศษเหลือจากสัตว์มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
การเลี้ยงสัตว์ที่ใช้ความทันสมัยในการผลิตและผลิตสัตว์ให้ได้จำนวนมากที่สุด


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 12)
ข้อใดจัดเป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่นำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช
สมดุลชีวภาพ
กระบวนการเพาะพันธุ์
พันธุวิศวกรรม
เทคโนโลยีโมเลกุลเครื่องหมาย


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 13)
ข้อใดเป็นขั้นตอนการเตรียมอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ถูกต้อง
ช่วงแรกใช้อาหารเหลว ช่วงหลังใช้อาหารวุ้นสภาพกึ่งแข็ง
ช่วงแรกใช้อาหารเหลว ช่วงหลังใช้อาหารวุ้นสภาพกึ่งเหลว
ช่วงแรกใช้อาหารวุ้นสภาพกึ่งเหลว ช่วงหลังใช้อาหารวุ้นสภาพกึ่งแข็ง
ช่วงแรกใช้อาหารวุ้นสภาพกึ่งแข็ง ช่วงหลังใช้อาหารเหลว


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 14)
ตามทางแยกถนน ใช้หลอดชนิดใดที่ทำให้ตาของมนุษย์มองเห็นได้ชัดเจนกว่า
หลอดอินแคนเดสเซนต์
หลอดปรอทความดันสูง
หลอดโซเดียมความดันสูง
หลอดฮาโลเจน


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 15)
การต่อสายดิน สำหรับตู้เย็น เครื่องซักผ้า และเครื่องทำน้ำอุ่น ต้องต่อเข้ากับแท่งหรือแผ่นโลหะชนิดใด
ทองเหลือง
ทองแดง
อะลูมิเนียม
สแตนเลส


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 16)
เพื่อป้องกันไม่ให้น๊อตคลายจากสกรู เมื่อได้รับการสั่นสะเทือน นักเรียนจะต้องทำอย่างไร
เชื่อมหรือบัดกรีน๊อตที่ปลายสกรู
งอปลายสกรู
ใส่แหวนสปริงรองน๊อต
ใส่แหวนสปิงรองสกรู


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 17)
ในการตัดเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว จะต้องตัดด้วยวิธีใดถึงจทำให้เสียเนื้อเหล็กน้อยที่สุด
ใช้กรรไกรตัดเหล็ก
ใช้เลื่อยมือตัดเหล็ก
ใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าตัดเหล็ก
ใช้แก็สตัดเหล็ก


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 18)
เครื่องมือใช้วัดแก๊สไอเสียรถยนต์ในปัจจุบันนี้กฏหมายให้ตรวจวัดแก๊สอะไร
แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ( CO )
แก๊สออกไซด์ของไนโตรเจน ( NOx )
แก๊สไฮโดรคาร์บอน ( HC )
แก๊สสารตะกั่ว ( Pb )


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 19)
เมื่อนำแบตเตอรี่ที่มีขนาดความจุและแรงดันไฟฟ้าเท่ากัน 2 ลูก มาต่อพ่วงแบบอนุกรมกันจะมีผลเช่นใด
ความจุเท่าเดิม แรงดันไฟฟ้าเพิ่มเป็น 2 เท่า
แรงดันไฟฟ้าเท่าเดิม ความจุเพิ่มเป็น 2 เท่า
แรงดันไฟฟ้าเพิ่มเป็น 2 เท่า
ความจุเพิ่มเป็น 2 เท่า


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 20)
วัสดุ 3 ชนิด คือ ข้าวสาร เมล็ดถั่วเขียว และเมล็ดงาขาว นำมาทำรูปภาพประดับตกแต่งบ้านได้ตรงกับข้อใด
ภาพครอบครัวไว้เป็นที่ระลึก
ภาพพระพุทธรูปเพื่อไว้เคารพบูชา
ภาพท้องทะเลกว้างสุดสายตาเพื่อให้รู้สึกโปร่งเบาสบาย
ภาพทิวทัศน์ภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะเพื่อให้ห้องเรียนรู้สึกเย็น


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 21)
ดอกมะลิ นำมาเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ เพราะคุณสมบัติข้อใด
มะลิหมายถึงความรักที่ลูกมอบให้แม่
สีขาวของดอกมะลิ แสดงถึงคุณธรรมของแม่
รูปทรงดอกมะลิเป็นทรงกลม จึงประดิษฐ์ได้ง่าย
กลิ่นหอมของดอกมะลิแสดงถึงความสะอาดของแม่


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 22)
วัสดุชนิดใดเหมาะสำหรับนำมาสานเป็นปลาตะเพียน
ใบลาน เพราะมีความคงทนไม่เหี่ยว
พลาสติก เพราะลดการใช้วัสดุธรรมชาติ
ใบมะพร้าว เพราะเป็นวัสดุที่หาได้ทั่วไป
กระดาษ เพราะสามารถระบายสีได้สวยงาม


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 23)
บรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหารให้บริการบนสายการบินไทย มีลวดลายใดที่บ่งบอกความเป็นไทย
ครุฑ
หงส์
กินรี
นกยูง


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 24)
ข้อใดถูกต้องที่สุด สำหรับบรรจุภัณฑ์ผ้าไหมไทยเพื่อการส่งออก
เป็นรูปลายไทย เพื่อบ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นไทย
เป็นรูปดอกกล้วยไม้ไทย เพื่อบ่งบอกสีสันของผ้าไหมไทย
เป็นรูปหญิงสาวไทย เพื่อบ่งบอกความนุ่มนวลของผ้าไหมไทย
เป็นรูปเรือนไทย เพื่อบ่งบอกความสบายในการสวมใส่ผ้าไหมไทย


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 25)
ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ ต้องจัดเอกสารแบบใด
ตามตัวเลข
ตามตัวอักษร
ตามภูมิศาสตร์
ตามสาขาวิชา


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 26)
รัฐบาลส่งเสริมสนับสนุนสินค้า OTOP เพราะอะไร
เกิดการแข่งขันกันเพื่อการส่งออก
ทำให้คนไทยเกิดสำนึกรักบ้านเกิด
สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
เป็นการเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้ภาคภูมิใจความเป็นไทยได้อย่างดีเยี่ยม


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 27)
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronics Commerce ) หมายถึงข้อใด
การส่งโทรเลข สั่งซื้อสินค้า
การส่งแฟกส์ติดต่อการค้า
การใช้บัตรเครดิตชำระเงินค่าสินค้า
การค้าขายที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 28)
การสื่อสารโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากผู้ขายไปสู่ลูกค้าเป็นธุรกรรมข้อใด
E-Mail
E-Banking
E-Exhibition
E-Advertising


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 29)
ข้อใดคือการสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
E-News
E-Payment
E-Learning
E-Sourcing


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 30)
เอเย่นต์ขายรถยนต์ คือใคร
ตัวแทน
พ่อค้าส่ง
นายหน้า
พ่อค้าปลีก


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 31)
นักเรียนจะปรับปรุงร้านขายของชำอย่างไร จึงจะสู้ Supermarket ได้
ขายราคาถูก มีสถานที่จอดรถสะดวก
มีสินค้าให้เลือกมากมาย ร้านสะอาด
มีสถานที่จอดรถสะดวก ราคายุติธรรม
ราคายุติธรรม จัดสินค้าสะดวกต่อการหยิบซื้อได้เอง


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 32)
ข้อใดเป็นการนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน
ใช้ในงานฟาร์มเลี้ยงปลาในกระซัง
ใช้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนบุคคล
ใช้ในการปลูกผักในแปลงเกษตรดั้งเดิม
ใช้ในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนรถยนต์ของโรงงาน


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 33)
"การเตรียมวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ โดยปอกเปลือกท่อนไม้ด้วยเครื่องปอกเปลือก ล้างท่อนไม้และส่งเข้าสู่เครื่องสับให้มีขนาดเล็ก แล้วคัดขนาดก่อนเข้าสู่การแยกเส้นใย"สิ่งใดที่จัดเป็นตัวป้อน ( input ) ในระบบเทคโนโลยี
ท่อนไม้
เครื่องปอกเปลือก
เครื่องสับไม้
น้ำที่ใช้ล้าง


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 34)
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องกำหนดรหัสแทนข้อมูล เช่น รหัสแอสกี ( ASCII) เนื่องจากเหตุผลหลักข้อใด
เพื่อสามารถเข้าใจชุดคำสั่ง
เพื่อความรวดเร็วในการใช้งาน
เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องประมวลชุดคำสั่งที่เขียนโดยภาษาโปรแกรม
เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 35)
"บริษัทผลิตผลไม้แปรรูปแห่งหนึ่งได้ศึษาวัฒนธรรมการกินของคนจีนเพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาลำไยแปรรูปที่จะส่งไปขายยังประเทศจีน" การศึกษาวัฒนธรรมการกินของคนจีนเป็นขั้นตอนใดในกระบวนการเทคโนโลยี
กำหนดปัญหา
รวบรวมข้อมูล
เลือกวิธีการ
ปรับปรุงแก้ไข


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 36)
ข้อใดเป็นการเรียงลำดับวิวัฒนาการของวงจรคอมพิวเตอร์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
หลอดสุญญกาศ วงจรไอซี ทรานซิสเตอร์ วงจรรวมความจุสูง
ทรานซิสเตอร์ หลอดสุญญากาศ วงจรไอซี วงจรรวมความจุสูง
หลอดสุญญากาศ ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี วงจรรวมความจุสูง
ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี หลอดสูญญากาศ วงจรรวมความจุสูง


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 37)
ทำไมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จึงใช้ระบบเลขฐานสอง
เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้ภาษาเครื่อง
เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจภาษามนุษย์
เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานแบบแอนะล็อก
เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานแบบดิจิทัลโดยใช้แรงดันไฟฟ้าแสดงสถานะเพียงสองสถานะ


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 38)
กระบวนงานในข้อใดเกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
เช็คสถานะของอาร์ดแวร์
โหลดระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำหลัก
หน่วยประมวลผลกลางประมวลชุดคำสั่งในหน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ ( RAM )
หน่วยประมวลผลกลางประมวลชุดคำสั่งในหน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว( ROM )


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 39)
สื่อกลางที่ใช้มากในการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายแลนคือข้อใด
สายคู่บิดเกลี่ยว
สายโคแอกเชียล
สายเส้นใยนำแสง
สายโทรศัพท์


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อที่ 40)
ความละเอียดของจอภาพสามารถบอกได้ด้วยปัจจัยในข้อใด
CRT
Dot Pitch
Refresh Rate
Color Quality

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการออกเเบบเทคโนโลยี

เทคโนโลยีกับการออกแบบ ในคลังความรู้
เทคโนโลยี ออกแบบ ประโยชน์ ผลกระทบ กระบวนการ ความสำคัญ ออกแบบ สร้าง พัฒนา ของใช้
วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี


Log in | วันอังคารที่ 21 ธ.ค. 2553 หน้าหลัก > คลังความรู้ > วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี


เทคโนโลยีกับการออกแบบ
วันที่โพส 12 ต.ค. 2552 โพสโดย ทีมงานทรูปลูกปัญญา


ข้อความสำคัญ : เทคโนโลยี ออกแบบ ประโยชน์ ผลกระทบ กระบวนการ ความสำคัญ ออกแบบ สร้าง พัฒนา ของใช้
Share

เทคโนโลยีกับการออกแบบ
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ เช่น กระบวนการเทคโนโลยี เป็นต้น

1. ประโยชน์และผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี
เราสามารถนำเครื่องใช้ที่ได้จากเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้ค่ะ
1. ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น
- ใช้รถบรรทุกดินมาถมที่ เพื่อสร้างอาคารบ้านเรือน หรือที่อยู่อาศัย
- ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีในการผลิตเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มให้ได้ครั้งละมาก ๆ โดยใช้เวลาน้อยลง
- ใช้เทคโนโลยีในการผลิตอาหารให้ได้ครั้งละมาก ๆ และเก็บไว้ได้นาน ๆ
- นำเทคโนโลยีและกระบวนการทางเทคโนโลยีมาใช้ในการรักษาโรคให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
2. ทำให้มีความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เช่น
- ขับรถยนต์ไปทำงานหรือไปที่ต่าง ๆ
- ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
- ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูลเรื่องที่ต้องการทราบ
- ใช้เครื่องซักผ้าแทนการซักผ้าด้วยมือ
- ใช้เครื่องดูดฝุ่นแทนการกวาดพื้นด้วยไม้กวาด

ตัวอย่าง ผลกระทบการใช้เทคโนโลยี
การใช้เทคโนโลยีจะช่วยให้การดำรงชีวิตของคนเราสะดวกสบายมากขึ้น แต่เราก็ควรใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความเดือนร้อนนะคะ

การใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง
- เปิดวิทยุเสียงดังพอประมาณ ทำให้ได้รับความเพลิดเพลิน
- ขับรถด้วยความระมัดระวัง ทำให้ชีวิตาปลอดภัย

การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูกต้อง
- เปิดวิทยุเสียงดังมากรบกวนผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญ
- ขับรถประมาท ทำให้เกิดอุบัติเหตุ อาจสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้

2. กระบวนการเทคโนโลยี
การนำกระบวนการของเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบ สร้าง และพัฒนาของใช้ มีดังนี้
กระบวนการเทคโนโลยี
1. ค้นหาปัญหาหรือสาเหตุ
2. คิดหาวิธีแก้ปัญหาและเลือกวิธีที่ดีที่สุด
3. ออกแบบและปฏิบัติตามแนวทางที่คิดไว้
4. นำไปใช้และปรับปรุงแก้ไข

3. ความสำคัญและประโยชน์ของกระบวนการเทคโนโลยี
กระบวนการเทคโนโลยีมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการทำงาน ดังนี้
1) ช่วยให้ได้งานที่มีความสวยงาม ทั้งรูปร่าง รูปทรง โดยอาศัยวิธีการออกแบบในลักษณะต่าง ๆ
2) ช่วยให้ได้สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ได้จริง เพราะว่ามีการออกแบบและปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
3) ทำให้เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากร โดยนำทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
4) ช่วยให้ทำงาน และพัฒนางานประดิษฐ์อย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับและได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพ

4. การออกแบบ สร้าง และพัฒนาของใช้
เราสามารถนำกระบวนการเทคโนโลยีมาใช้ในการประดิษฐ์ของใช้ได้ เช่น
1. หาปัญหาหรือสาเหตุ ต้องการถุงใส่ของ เพราะกระเป๋านักเรียนไม่สามารถใส่ของที่ต้องการ
นำไปโรงเรียนได้หมด
2. คิดหาวิธีแก้ปัญหา o ซื้อถุงกระดาษมาใส่
และเลือกทางที่ดีที่สุด o ขอถุงพลาสติกจากแม่ค้า
þ ประดิษฐ์ถุงผ้าใส่ของ
3. ลงมือปฏิบัติตามแนวทาง ประดิษฐ์ถุงผ้าใส่ของ

ถุงผ้าใส่ของ
วัสดุ – อุปกรณ์
1. เสื้อยืดที่ไม่ใส่แล้ว 1 ตัว
2. สายผ้าสำหรับทำหูถุง
3. เข็ม ด้าย
4. กรรไกร
วิธีทำ
1. นำเสื้อมาตัดตรงส่วนแขนและคอออก แล้วกลับเอาด้านในออก
2. เย็บริมผ้าด้านที่ตัดออกให้เป็นก้นถุง พลิกผ้าเอาด้านนอกออกจะได้ตัวถุง นำสายผ้ามาเย็บเป็นส่วนหูของถุง จะได้ถุงผ้าสำหรับใส่ของที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อ และยังมีลวดสายแปลกใหม่ สวยงาม นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

ลองนำสิ่งของมาใส่ถุง ถ้าพบข้อบกพร่องจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น



ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ . การงานอาชีพและเทคโนโลยี ป.2 . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์




ข้อสอบที่เกี่ยวข้อง
เรื่อง เทคโนโลยีกับการออกแบบ ป.2
โพส : 20 พ.ย. 2552
เข้าชม : 435 ครั้ง
ผู้สร้าง : ทีมงานทรูปลูกปัญญา

เรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยี ป.2
โพส : 22 ม.ค. 2553
เข้าชม : 737 ครั้ง
ผู้สร้าง : Noo_Wow

ดูทั้งหมด

ชื่นชอบเนื้อหานี้ 1 2 3 4 5
แสดงความคิดเห็น

จากคุณ :
อีเมล์ : คลิ๊กเพื่อแสดงอีเมล์ต่อสาธารณะ
โค๊ด :


ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2 ( ..... )

ก้อดีคร่ะ^^
วันจันทร์ที่ 25 ม.ค. 2553


ความคิดเห็นที่ 1 ( nat )

ดีมากเลยทีเดียวคะ
วันอาทิตย์ที่ 10 ม.ค. 2553


วิชา : การงานอาชีพและเทคโนโลยี
หมวด : การออกแบบและเทคโนโลยี
เข้าชม : 2,695 ครั้ง
คะแนนความชื่นชอบ : 18 คะแนน ระดับชั้น :
โพสโดย : ทีมงานทรูปลูกปัญญา
วันที่ 12 ตุลาคม 2552


URL
Embed

เนื้อหาอื่นๆ จาก : ทีมงานทรูปลูกปัญญา ภาษาฝรั่งเศส ตอน สำนวนการใช้คำกริยาที่ตามด้วย de (3) โพส : 17 ธ.ค. 2553เข้าชม : 125 ครั้ง
ภาษาฝรั่งเศส ตอน สำนวนการใช้คำกริยาที่ตามด้วย de (2) โพส : 17 ธ.ค. 2553เข้าชม : 46 ครั้ง
ภาษาฝรั่งเศส ตอน สำนวนการใช้คำกริยาที่ตามด้วย de (1) โพส : 17 ธ.ค. 2553เข้าชม : 58 ครั้ง
ภาษาฝรั่งเศส ตอน สำนวนการใช้คำกริยาที่ตามด้วยคำนาม โพส : 17 ธ.ค. 2553เข้าชม : 48 ครั้ง
ดูทั้งหมด
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีกับกีฬา ตอนที่ 1

โพส : 27 พ.ย. 2552
เข้าชม : 516 ครั้ง

โพสโดย : ทีมงานทรูปลูกปัญญา

เทคโนโลยีกับกีฬา ตอนที่ 2

โพส : 27 พ.ย. 2552
เข้าชม : 214 ครั้ง

โพสโดย : ทีมงานทรูปลูกปัญญา

เทคโนโลยีกับโลกสมือนจริง ตอนที่ 1

โพส : 27 พ.ย. 2552
เข้าชม : 275 ครั้ง

โพสโดย : ทีมงานทรูปลูกปัญญา

เทคโนโลยีกับโลกเสมือนจริง ตอนที่ 2

โพส : 27 พ.ย. 2552
เข้าชม : 122 ครั้ง

โพสโดย : ทีมงานทรูปลูกปัญญา

ดูทั้งหมด
แบ่งปันให้เพื่อน

อีเมล์เพื่อน (แยกแต่ละอีเมล์ด้วย semi-colon ;)

ส่ิิงโดย

ข้อความ

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หลักการออกเเบบผลิตภันฑ์

เอามาเขียนเล่นๆไว้เป็นเกร็ดความรู้ ^^
Pages
Home
Kanareia Miyon
View my profile
Previousการจัดองค์ประกอบแบบ golden mean - Composition
โต๊ะออกแบบ
composition
เลิกตามก้นฝรั่งกับฟรานเซสโก โมราเซ (Francesco Morace)
ว่าด้วย Monsoon Life Style และ Thailand Creative & Design Center
Recommendการจัดองค์ประกอบแบบ golden mean - Composition
composition
Generation (ต่อ)
Generation
หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์
Favouritesvendetta's Blog
champcpe's Blog
bickboon's Blog
LinksTCDC
กรมส่งเสริมการส่งออก
Thailand Design
MTec
thaifactory
designboom
swu : vd111
kku : edtech
Principles of visaul art(e-book)
หลักการตลาด
Latest Commentsหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์
composition
โต๊ะออกแบบ
ว่าด้วย Monsoon Life Style และ Thailand Creative & Design Center
นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ArchivesNov 2010
Oct 2010
Sep 2010
Aug 2010
Jul 2010
more
CategoriesKnowledge
Material
News
Package-Design
Product-Design
หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์
posted on 01 Apr 2007 13:32 by product in Product-Design 1 หน้าที่ใช้สอย

หน้าที่ใช้สอยถือเป็นหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกที่ต้องคำนึงผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย ผลิตภัณฑ์นั้นถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) แต่ถ้าหากผลิตภัณฑ์ใดไม่สามารถสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์นั้นก็จะถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยไม่ดีเท่าที่ควร (LOW FUNTION)

สำหรับคำว่าประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) นั้น ดลต์ รัตนทัศนีย์ ( 2528 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจขอให้ดูตัวอย่างการออกแบบมีดหั่นผักแม้ว่ามีดหั่นผักจะมีประสิทธิภาพในการหั่นผักให้ขาดได้ตามความต้องการ แต่จะกล่าวว่า มีดนั้นมีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) ยังไม่ได้ จะต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นร่วมอีกเช่น ด้ามจับของมีดนั้นจะต้องมีความโค้งเว้าที่สัมพันธ์กับขนาดของมือผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการหั่นผักด้วย และภายหลังจากการใช้งานแล้วยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย การเก็บและบำรุงรักษาจะต้องง่ายสะดวกด้วย ประโยชน์ใช้สอยของมีดจึงจะครบถ้วนและสมบูรณ์

เรื่องหน้าที่ใช้สอยนับว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนมาก ผลิตภัณฑ์บางอย่างมีประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้คนทั่วๆ ไปทราบเบื้องต้นว่า มีหน้าที่ใช้สอยแบบนี้ แต่ความละเอียดอ่อนที่นักออกแบบได้คิดออกมานั้นได้ตอบสนองความสะดวกสบายอย่างเต็มที่ เช่น มีดในครัวมีหน้าที่หลักคือใช้ความคมช่วยในการหั่น สับ แต่เราจะเห็นได้ว่ามีการออกแบบมีดที่ใช้ในครัวอยู่มากมายหลายแบบหลายชนิดตามความละเอียดในการใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะที่แตกต่างเช่น มีดสำหรับปอกผลไม้ มีดแล่เนื้อสัตว์ มีดสับกระดูก มีดบะช่อ มีดหั่นผัก เป็นต้น ซึ่งก็ได้มีการออกแบบลักษณะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน ถ้าหากมีการใช้มีดอยู่ชนิดเดียวแล้วใช้กันทุกอย่างตั้งแต่แล่เนื้อ สับบะช่อ สับกระดูก หั่นผัก ก็อาจจะใช้ได้ แต่จะไม่ได้ความสะดวกเท่าที่ควร หรืออาจได้รับอุบัติเหตุขณะที่ใช้ได้ เพราะไม่ใช่ประโยชน์ใช้สอยที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้เป็นการเฉพาะอย่าง

การออกแบบเก้าอี้ก็เหมือนกัน หน้าที่ใช้สอยเบื้องต้นของเก้าอี้ คือใช้สำหรับนั่ง แต่นั่งในกิจกรรมใดนั่งในห้องรับแขก ขนาดลักษณะรูปแบบเก้าอี้ก็เป็นความสะดวกในการนั่งรับแขก พูดคุยกัน นั่งรับประทานอาหาร ขนาดลักษณะเก้าอี้ก็เป็นความเหมาะสมกับโต๊ะอาหาร นั่งเขียนแบบบนโต๊ะเขียนแบบ เก้าอี้ก็จะมีขนาดลักษะณที่ใช้สำหรับการนั่งทำงานเขียนแบบ ถ้าจะเอาเก้าอี้รับแขกมาใช้นั่งเขียนแบบ ก็คงจะเกิดการเมื่อยล้า ปวดหลัง ปวดคอ แล้วนั่งทำงานได้ไม่นาน ตัวอย่างดังกล่าวต้องการที่จะพูดถึงเรื่องของหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและละเอียดอ่อนมาก ซึ่งนักออกแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด

2 ความปลอดภัย

สิ่งที่อำนวยประโยชน์ได้มากเพียงใด ย่อมจะมีโทษเพียงนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสะดวกต่างๆ มักจะเกิดจากเครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้า การออกแบบควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องแสดงเครื่องหมายไว้ให้ชัดเจนหรือมีคำอธิบายไว้

ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ต้องคำนึงถึงวัสดุที่เป็นพิษเวลาเด็กเอาเข้าปากกัดหรืออม นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นสำคัญ มีการออกแบบบางอย่าง ต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่าแบบธรรมดา แต่คาดไม่ถึงช่วยในการให้ความปลอดภัย เช่น การออกแบบหัวเกลียววาล์ว ถังแก๊ส หรือปุ่มเกลียว ล็อกใบพัดของพัดลม จะมีการทำเกลียวเปิดให้ย้อนศรตรงกันข้ามกับเกลียวทั่วๆ ไป เพื่อความปลอดภัย สำหรับคนที่ไม่ทรายหรือเคยมือไปหมุนเล่นคือ ยิ่งหมุนก็ยิ่งขันแน่น เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้

3 ความแข็งแรง

ผลิตภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรงในตัวของผลิตภัณฑ์หรือโครงสร้างเป็นความเหมาะสมในการที่นักออกแบบรู้จักใช้คุณสมบัติของวัสดุและจำนวน หรือปริมาณของโครงสร้าง ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะต้องมีการรับน้ำหนัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้องเข้าใจหลักโครงสร้างและการรับน้ำหนัก อีกทั้งต้องไม่ทิ้งเรื่องของความสวยงามทางศิลปะ เพราะมีปัญหาว่า ถ้าใช้โครงสร้างให้มากเพื่อความแข็งแรง จะเกิดสวนทางกับความงาม นักออกแบบจะต้องเป็นผู้ดึงเอาสิ่งสองสิ่งนี้เข้ามาอยู่ในความพอดีให้ได้

ส่วนความแข็งแรงของตัวผลิตภัณฑ์เองนั้นก็ขึ้นอยู่ที่การออกแบบรูปร่างและการเลือกใช้วัสดุ และประกอบกับการศึกษาข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องรับน้ำหนักหรือกระทบกระแทกอะไรหรือไม่ในขณะใช้งานก็คงต้องทดลองประกอบการออกแบบไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงของโครงสร้างหรือตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากเลือกใช้ประเภทของวัสดุ โครงสร้างที่เหมาะสมแล้วยังต้องคำนึงถึงความประหยัดควบคู่กันไปด้วย

4 ความสะดวกสบายในการใช้

นักออกแบบต้องศึกษาวิชากายวิภาคเชิงกลเกี่ยวกับสัดส่วน ขนาด และขีดจำกัดที่เหมาะสมสำหรับอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้ทางด้านขนาดสัดส่วนมนุษย์ (ANTHROPOMETRY) ด้านสรีรศาสตร์ (PHYSIOLOGY) จะทำให้ทราบ ขีดจำกัด ความสามารถของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบ หรือศึกษาด้านจิตวิทยา (PSYCHOLOGY) ซึ่งความรู้ในด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จะทำให้นักออกแบบ ออกแบบและกำหนดขนาด (DIMENSIONS) ส่วนโค้ง ส่วนเว้า ส่วนตรง ส่วนแคบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างพอเหมาะกับร่างกายหรืออวัยวะของมนุษย์ที่ใช้ ก็จะเกิดความสะดวกสบายในการใช้การไม่เมื่อยมือหรือเกิดการล้าในขณะที่ใช้ไปนานๆ ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิชาดังกล่าว ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ต้องใช้อวัยวะร่างกายไปสัมผัสเป็นเวลานาน เช่น เก้าอี้ ด้าม เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบภายในห้องโดยสารรถยนต์ ที่มือจับรถจักรยาน ปุ่มสัมผัสต่างๆ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ยกตัวอย่างมานี้ถ้าผู้ใช้ผู้ใดได้เคยใช้มาแล้วเกิดความไม่สบายร่างกายขึ้น ก็แสดงว่าศึกษากายวิภาคเชิงกลไม่ดีพอแต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ดีก่อน จะไปเหมาว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ดี เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดผลิตมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งออกแบบโดยใช้มาตรฐานผู้ใช้ของชาวตะวันตก ที่มีรูปร่างใหญ่โตกว่าชาวเอเชีย เมื่อชาวเอเชียนำมาใช้อาจจะไม่พอดีหรือหลวม ไม่สะดวกในการใช้งาน นักออกแบบจึงจำเป็นต้องศึกษาสัดส่วนร่างกายของชนชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์

5 ความสวยงาม

ผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบันนี้ความสวยงามนับว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน้าที่ใช้สอยเลย ความสวยงามจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อเพราะประทับใจ ส่วนหน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งคือใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดข้อบกพร่องในหน้าที่ใช้สอยให้เห็นภายหลัง ผลิตภัณฑ์บางอย่างความสวยงามก็คือ หน้าที่ใช้สอยนั่นเอง เช่น ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของโชว์ตกแต่งต่างๆ ซึ่งผู้ซื้อเกิดความประทับใจในความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ความสวยงามจะเกิดมาจากสิ่งสองสิ่งด้วยกันคือ รูปร่าง (FORM) และสี (COLOR) การกำหนดรูปร่างและสี ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกับการกำหนด รูปร่าง สี ได้ตามความนึกคิดของจิตรกรที่ต้องการ แต่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นในลักษณะศิลปะอุตสาหกรรมจะทำตามความชอบ ความรู้สึกนึกคิดของนักออกแบบแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้จำเป็นต้องยึดข้อมูลและกฎเกณฑ์ผสมผสานรูปร่างและสีสันให้เหมาะสม

ด้วยเหตุของความสำคัญของรูปร่างและสีที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ นักออกแบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิชา ทฤษฏีหรือหลีกการออกแบบและวิชาทฤษฏีสี ซึ่งเป็นวิชาทางด้านของศิลปะแล้วนำมาประยุกต์ผสานใช้กับศิลปะทางด้านอุตสาหกรรมให้เกิดความกลมกลืน

6 ราคาพอสมควร

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาขายนั้นย่อมต้องมีข้อมูลด้านผู้บริโภคและการตลาดที่ได้ค้นคว้าและสำรวจแล้ว ผลิตภัณฑ์ย่อมจะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้ว่าเป็นคนกลุ่มใด อาชีพฐานะเป็นอย่างไร มีความต้องการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นี้เพียงใด นักออกแบบก็จะเป็นผู้กำหนดแบบผลิตภัณฑ์ ประมาณราคาขายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่จะซื้อได้การจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมกับผู้ซื้อนั้น ก็อยู่ที่การเลือกใช้ชนิดหรือเกรดของวัสดุ และเลือกวิธีการผลิตที่ง่ายรวดเร็ว เหมาะสม

อย่างไรก็ดี ถ้าประมาณการออกมาแล้ว ปรากฏว่า ราคาค่อนข้างจะสูงกว่าที่กำหนดไว้ ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ กันใหม่ แต่ก็ยังต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้น เรียกว่าเป็นวิธีการลดค่าใช้จ่าย

7 การซ่อมแซมง่าย

หลักการนี้คงจะใช้กับผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีกลไกภายในซับซ้อน อะไหล่บางชิ้นย่อมต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานหรือการใช้งานในทางที่ผิด นักออกแบบย่อมที่จะต้องศึกษาถึงตำแหน่งในการจัดวางกลไกแต่ละชิ้นตลอดจนนอตสกรู เพื่อที่จะได้ออกแบบส่วนของฝาครอบบริเวณต่างๆ ให้สะดวก ในการถอดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ง่าย

8 วัสดุและวิธีการผลิต

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิตด้วยวัสดุสังเคราะห์ อาจมีกรรมวิธีการเลือกใช้วัสดุและวิธีผลิตได้หลายแบบ แต่แบบหรือวิธีใดถึงจะเหมาะสมที่สุด ที่จะไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ประมาณ ฉะนั้น นักออกแบบคงจะต้องศึกษาเรื่องวัสดุและวิธีผลิตให้ลึกซึ้ง โดยเฉพาะวัสดุจำพวกพลาสติกในแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ต่างกันออกไป เช่น มีความใส ทนความร้อน ผิวมันวาว ทนกรดด่างได้ดี ไม่ลื่น เป็นต้น ก็ต้องเลือกให้คุณสมบัติดังกล่าวให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่พึงมียิ่งในยุคสมัยนี้ มีการรณรงค์ช่วยกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่นำกลับหมุนเวียนมาใช้ใหม่ ก็ยิ่งทำให้นักออกแบบย่อมต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกคือ เป็นผู้ช่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ ที่เรียกว่า รีไซเคิล

9 การขนส่ง

นักออกแบบต้องคำนึงถึงการประหยัดค่าขนส่ง การขนส่งสะดวกหรือไม่ ระยะใกล้หรือระยะไกลกินเนื้อที่ในการขนส่งมากน้อยเพียงใด การขนส่งทางบกทางน้ำหรือทางอากาศต้องทำการบรรจุหีบห่ออย่างไร ถึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เกิดการเสียหายชำรุด ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าหรือเนื้อที่ที่ใช้ในการขนส่งมีขนาด กว้าง ยาว สูง เท่าไหร่ เป็นต้น หรือในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบมีขนาดใหญ่โตยาวมาก เช่น เตียง หรือพัดลมแบบตั้งพื้น นักออกแบบก็ควรที่จะคำนึงถึงเรื่องการขนส่ง ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบกันเลย คือ ออกแบบให้มีชิ้นส่วน สามารถถอดประกอบได้ง่าย สะดวก เพื่อทำให้หีบห่อมีขนาดเล็กสุดสามารถบรรจุได้ในลังที่เป็นขนาดมาตรฐาน เพื่อการประหยัดค่าขนส่ง เมื่อผู้ซื้อซื้อไปก็สามารถที่จะขนส่งได้ด้วยตนเองนำกลับไปบ้านก็สามารถประกอบชิ้นส่วนให้เข้ารูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้โดยสะดวกด้วยตนเอง

เรื่องหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวมาทั้ง 9 ข้อนี้เป็นหลักการที่นักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงเป็นหลักการทางสากลที่ได้กล่าวไว้ในขอบเขตอย่างกว้าง ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ไว้ทั่วทุกกลุ่มทุกประเภทในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้น อาจจะไม่ต้องคำนึงหลักการดังกล่าวครบทุกข้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์บางชนิดก็อาจจะต้องคำนึงถึงหลักการดังกล่าวครบถ้วนทุกข้อ เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้แขวนเสื้อ ก็คงจะเน้นหลักการด้านประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกในการใช้และความสวยงามเป็นหลัก คงจะไม่ต้องไปคำนึงถึงด้านการซ่อมแซม เพราะไม่มีกลไกซับซ้อนอะไร หรือการขนส่ง เพราะขนาดจำกัดตามประโยชน์ใช้สอยบังคับ เป็นต้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์รถยนต์ ก็จำเป็นที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ครบทั้ง 9 ข้อ เป็นต้น

องค์การยูเนสโก

องค์การยูเนสโก (UNESCO)



องค์การยูเนสโก หรือ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ นั้น
เป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2489
มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ยูเนสโก มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสร้างสรรค์สันติภาพ
โดยส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมเพื่อให้ทั่วโลกเคารพ
ในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิและเสรีภาพที่มนุษย์พึงมี โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ ภาษาหรือศาสนา
ตามกฎบัตรสหประชาชาติ

ปกติ ยูเนสโก จะใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาทางการแต่ในระหว่างการประชุม
สมัยสามัญของยูเนสโก และการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก จะใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องถึง
6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเชีย อาหรับ สเปน และจีน

ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2492 (ลำดับที่ 49)
ปัจจุบัน ยูเนสโกมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 188 ประเทศ ประเทศสมาชิกล่าสุดคือประเทศ MICRONESIA
โดยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2542

ในการดำเนินงานของยูเนสโกนั้นจะปรากฎในรูปของการประชุมสมัยสามัญ ซึ่งมีทุกๆ 2 ปี
คณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม จำนวน
58 คน ที่เลือกมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก อยู่ในวาระ 4 ปี โดยจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่
ครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ผู้อำนวยการใหญ่ จะเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดขององค์การอยู่ในวาระ 6 ปี

ยูเนสโก จัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาค และสำนักงานย่อยประจำพื้นที เพื่อให้ยูเนสโก ประสานงาน
กับประเทศต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด (ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีสำนักงานยูเนสโกประจำภูมิภาคอยู่ที่
กรุงเทพ : อาคารดาราคาร, เอกมัย) แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก
และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้น ๆเพื่อดำเนินงานในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ

สำนักผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525
เป็นต้นมา มีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส ปัจจุบันมีเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสเป็นผู้แทนถาวรไทย
และมี ดร. ดวงทิพย์ สุรินทาธิป เป็นรองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก

สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

ความเป็นมา
ประเทศไทยได้เข้าเป็นรัฐสมาชิกของยูเนสโก ลำดับที่ 49 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2492
หลังจากนั้น 1 ปี รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการติดต่อกับ
ยูเนสโก โดยได้ตั้งสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
แห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นหน่วยประสานงาน ขึ้นที่กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัด-
กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ในประเทศเกี่ยวกับการ
ให้ - รับ ความช่วยเหลือ และการร่วมมือกับยูเนสโกในด้านการดำเนินโครงการต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา
วิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ วัฒนธรรมและสื่อสารมวลชน ความช่วยเหลือมีในรูปของสิ่งพิมพ์
อุปกรณ์ ทุนการศึกษา การจัดการประชุมระหว่างประเทศ การสัมมนา การฝึกอบรม ฯลฯ

สถานภาพปัจจุบันและองค์ประกอบ

คณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามมติ
คณะรัฐมนตรี ฉะนั้นสถานภาพของคณะกรรมการจะคงอยู่หรือเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนเเปลง
ของคณะรัฐบาล
ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที 16 กันยายน 2540 คณะกรรมการแห่งชาติฯ มีรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงศึกษาธิการดำรงตำแหน่งประธาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการดำรงตำเเหน่ง
รองประธาน ผู้แทนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ของยูเนสโก จากหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นกรรมการ และมีคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย รองปลัด
กระทรวงศึกษาธิการฝ่ายต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการ คณะกรรมการแห่งชาติฯ
ผู้อำนวยการกองการสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. ทำหน้าที่เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการ-
แห่งชาติฯ และหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่มในกองการสัมพันะต่างประเทศ สป. ทำหน้าที่เป็นกรรมการ
และผู้ช่วยเลขาธิการ

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ

คณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้รับการแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540
ปัจจุบันมีคณะกรรมการรวม 7 คณะ คือ

1. คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา
2. คณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์
3. คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรม
4. คณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์
5. คณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชน
6. คณะกรรมการระบบสารนิเทศสากล
7. คณะกรรมการยกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแห่งชาติฯ

ตามกฎบัตรของยูเนสโกว่าด้วยคณะกรรมการแห่งชาติฯ (Charter of the National Commissions
for UNESCO) มีดังนี้

1. คณะกรรมการแห่งชาติฯ ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้กระทรวง ทบวง กรม
หน่วยงาน สถาบัน องค์การ และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของยูเนสโก เพื่อความ
ก้าวหน้า ทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และข่าวสารข้อมูล ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศสมาชิก
ดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
ก. มีส่วนร่วมในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่นคงปลอดภัย และ สวัสดิภาพของมนุษยชาติ
โดยการร่วมในกิจกรรมของยูเนสโก ซึ่งมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับชนชาติต่างๆ
ให้การศึกษาแก่ประชาชน เผยแพร่วัฒนธรรม รักษาเพิ่มพูนและเผยแพร่วิทยาการ
ข. มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติงานของยูเนสโก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการร่างและดำเนิน
โครงการขององค์การฯ
2. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คณะกรรมการแห่งชาติฯ จึงดำเนินการ ดังนี้
ก. ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลและยูเนสโกในเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายงานขององค์การฯ
ข. ประสานงานกับรัฐบาล หน่วยงาน บริการ องค์การ สถาบัน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ในเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายงานของยูเนสโก
ค. ส่งเสริมให้สถาบันระดับชาติทั้งที่เป็นของรัฐบาลและไม่ใช่ของรัฐบาล ตลอดจน
บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมและดำเนินโครงการของยูเนสโกเพื่อให้ความช่วยเหลือ
ทางด้านปัญญา วิชาการ ศิลปะ หรือบริหาร ซึ่งองค์การฯ อาจต้องขอความช่วยเหลือ
ง. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความมุ่งหมาย โครงการและกิจกรรมของยูเนสโกตลอดจน
พยายามกระตุ้นความสนใจของประชาชนทั่วไปในงานของยูเนสโกด้วย
จ. เข้าร่วมในการวางเเผนและดำเนินงานต่างๆ ของยูเนสโก ซึ่งได้รับความช่วยเหลือตาม
โครงการพัฒนา เเห่งสหประชาชาติ โครงการสิ่งเเวดล้อมแห่งสหประชาชาติ กองทุนสหประชาชาติ
เพื่องานประชากรและโครงการะหว่างประเทศอื่นๆ
ฉ. เข้าร่วมในการเลือกสรรผู้สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งต่างๆ ของยูเนสโกตามโครงการปกติ
ขององค์การฯ หรือจากงบประมาณยอดพิเศษอื่นๆ ตลอดจนจัดหาสถานศึกษาหรืออบรมแก่ผู้ได้รับทุน
ยูเนสโก
ช. ร่วมกับคณะกรรมการแห่งชาติของประเทศอื่นๆ ศึกษา วิจัยเรื่องที่อยู่ในขอบข่าย
ความรับผิดชอบขององค์การฯ
ซ. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่เห็นสมควรที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์โดยทั่วไปของยูเนสโก
3. คณะกรรมการแห่งชาติฯ จะร่วมมือกับคณะกรรมการแห่งชาติฯ ของประเทศอื่นๆ ประสานงาน
กับสำนักงานส่วนภูมิภาคและศูนย์อื่นๆ ของยูเนสโก ในการส่งเสริมความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาค
ภูมิภาคย่อย และทวิภาคีในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการ
วางเเผน และดำเนินงาน ร่วมกัน การร่วมมือนี้อาจจะส่งผลดีต่อการเตรียมการการดำเนินงานและการ
ประเมินผลโครงการ และอาจเป็นรูปของการร่วมมือกันสำรวจ การสัมมนา การประชุม และการ
เเลกเปลี่ยนข่าวสาร วัสดุอุปกรณ์ และเยี่ยมเยียนซึ่งกันเเละกัน
4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2540)

ประกอบด้วย

1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการ
2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานกรรมการ
3. ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย กรรมการ
4. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หรือผู้แทน กรรมการ
5. อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทน กรรมการ
6. อธิบดีกรมวิเทศสหการ หรือผู้แทน กรรมการ
7. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน กรรมการ
8. เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ
หรือผู้แทน กรรมการ
9. ประธานคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการ
แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
10. ประธานคณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการ
แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
11. ประธานคณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการ
แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
12. ประธานคณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการ
แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
13. ประธานคณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวชนของคณะกรรมการ
แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
14. ประธานคณะกรรมการระบบสารนิเทศสากลของ
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
15. ศาสตราจารย์ ดร. อดุล วิเชียรเจริญ กรรมการ
16. ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล กรรมการ
17. รองศาสตราจารย์ ดร. ศลักษณ์ ทรรพนันทน์ กรรมการ
18. รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและเลขาธิการ
(ฝ่ายการต่างประเทศ)
19. ผู้อำนวยการกองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและรองเลขาธิการ
20. หัวหน้ากลุ่มความร่วมมือพหุภาคี
กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ
21. หัวหน้ากลุ่มสารสนเทศการต่างประเทศด้านการศึกษา
กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ
22. หัวหน้ากลุ่มความร่วมมือทวิภาคี
กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ
23. หัวหน้ากลุ่มประสานงานและการประชุมนานาชาติ
กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ
24. หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมมาตรฐานสากลด้านการศึกษา
กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

องค์การอนามัยโลก

องค์การระหว่างประเทศเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย โดย นายแพทย์ประกอบ ตู้จินดา
จากการระบาดของโรคติดต่อต่างๆ ตั้งแต่ยุคกลางมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดของโรคข้ามแดน เป็นผลให้เกิดความจำเป็นในการประสานงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการสาธารณสุข การประชุมนานาชาติครั้งแรกได้จัดขึ้นที่กรุงปารีสในปี พ.ศ.๒๓๙๔ เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อในการเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศ และจากการประชุมครั้งนี้เอง ได้เป็นที่มาขององค์การถาวรซึ่งจัดขึ้นเพื่อการควบคุมโรคระหว่างประเทศในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ซึ่งต่อมาได้รวมเข้าอยู่ในเครือขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. ๒๔๙๐
องค์การระหว่างประเทศที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในงานสาธารณสุขของประเทศไทย โดยการให้ความช่วยเหลือทั้งในทางวิชาการ วัสดุครุภัณฑ์ และทุนการศึกษา ได้แก่ องค์การอนามัยโลก และกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ



[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]



หัวข้อ

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization)
กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children Fund หรือ UNICEF)
สภากาชาดสากล
สภากาชาดไทย
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization)
ในการประชุมนานาชาติ เพื่อร่างกฎบัตรสหประชาชาติในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ณ เมืองซานฟรานซิสโกทุกฝ่ายมีความเห็นต้องกันว่า สหประชาชาติควรมีองค์การอนามัยระหว่างประเทศด้วย และในปีต่อมาได้มีการประชุมอนามัยโลก ณ กรุงนิวยอร์ก เพื่อร่างธรรมนูญขององค์การอนามัยโลกขึ้น ในขณะที่รอการให้สัตยาบันของประเทศต่างๆ ได้มีการตั้งคณะกรรมการชั่วคราวขึ้น ทำหน้าที่ก่อตั้งองค์การอนามัยโลกให้สอดคล้องกับธรรมนูญที่ได้ร่างไว้ เมื่อประเทศต่างๆ ให้สัตยาบันเพียงพอแล้วองค์การอนามัยโลกก็ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑
องค์การอนามัยโลกเป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศที่ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญขององค์การฯ ทั้งนี้โดยมิคำนึงว่าประเทศเหล่านั้นจะเป็นสมาชิกของสหประชาชาติหรือไม่ หน้าที่ขององค์การอนามัยโลกตามธรรมนูญมีดังนี้ คือ
๑. ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในการพัฒนาและปรับปรุงบริการทางแพทย์และสาธารณสุข
๒. ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานการสอนและการฝึกอบรมในวิชาชีพแพทย์และสาธารณสุข และวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๓. ให้ข้อมูลข่าวสาร การปรึกษาแนะนำ และความช่วยเหลือในด้านการแพทย์และสาธารณสุข
๔. ให้การส่งเสริมการพัฒนาในด้านโภชนาการการเคหะ สุขาภิบาล นันทนาการ สภาพการทำงานและในเรื่องอื่นๆ ของการอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยร่วมมือกับองค์การชำนัญพิเศษอื่นๆ ของสหประชาชาติ
๕. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาชีพที่มีส่วนในการสร้างความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข
๖. ส่งเสริมอนามัยและสวัสดิภาพของแม่และเด็ก ตลอดจนการดำรงชีวิตที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของบุคคลโดยทั่วไป
๗. ส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพจิต ทั้งนี้โดยเฉพาะในกลุ่มของบุคคลที่มีความบกพร่องในด้านมนุษยสัมพันธ์
๘. ส่งเสริมและดำเนินการวิจัย เพื่อการพัฒนาในด้านการแพทย์และสาธารณสุข
๙. ศึกษา และรายงานวิธีการและเทคนิคด้านบริหารและสังคมที่มีผลกระทบต่อการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยร่วมมือกับองค์การชำนัญพิเศษต่างๆ ของสหประชาชาติ

งานขององค์การอนามัยโลก ดำเนินการภายใต้นโยบายและการปกครองของสมัชชาอนามัยโลก ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิก ซึ่งใน พ.ศ.๒๕๒๖ มี ๑๕๗ ประเทศ และเพื่อเป็นการกระจายการปฏิบัติงานขององค์การฯ ให้ทั่วถึงส่วนต่างๆ ของโลกสมัชชาอนามัยโลกในการประชุมสมัยที่ ๑ ได้มีมติกำหนดพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น ๖ ภูมิภาค คือ
๑. ภูมิภาคอเมริกา มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงวอชิงตัน ดี. ซี.
๒. ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก มีสำนักงานอยู่ ณ เมืองอเล็กซานเดรีย
๓. ภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงนิวเดลี
๔. ภูมิภาคแอฟริกา มีสำนักงานอยู่ ณ เมืองบราซาวิลล์
๕. ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงมะนิลา
๖. ภูมิภาคยุโรป มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงโคเปนเฮเกน

สำหรับประเทศไทย อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด ๑๑ ประเทศ คือ ประเทศบังคลาเทศ ประเทศพม่า ประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนเกาหลีประเทศสาธารณรัฐมัลดิฟส์ ประเทศมองโกเลีย ประเทศเนปาล ประเทศศรีลังกา ประเทศภูฏาน และประเทศไทย
เพื่อให้มีการร่วมมือประสานงานกับประเทศสมาชิกอย่างใกล้ชิด องค์การอนามัยโลกยังได้ตั้งสำนักงานไว้ตามประเภทต่างๆ โดยมีผู้ประสานแผนงานขององค์การอนามัยโลกเป็นหัวหน้าของสำนักงานอีกด้วย

[กลับหัวข้อหลัก]

ตราองค์การอนามัยโลก



กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children Fund หรือ UNICEF)
โดยมติของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ในชั้นแรกเพื่อให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่เด็กที่ประสบภัยสงครามในทวีปยุโรปต่อมาเมื่อสภาพความเดือดร้อนในยุโรปคลี่คลายลงสมัชชาใหญ่ออกเสียงอีกครั้งหนึ่งในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ให้ต่ออายุกองทุนออกไปอีก ๓ ปี แต่ให้เปลี่ยนเป้าหมายไปสู่เด็กในประเทศที่กำลังพัฒนา และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติจึงได้เป็นหน่วยงานถาวรอยู่ในสหประชาชาติ และนิยมเรียกกันโดยย่อว่า "ยูนิเซฟ" (UNICEF)
เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๒ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ได้มีมติยอมรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเยาวชนเป็นเอกฉันท์ โดยมีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ว่า เยาวชนพึงมีสิทธิได้รับการดูแลเลี้ยงดูในด้านอาหาร ที่พักอาศัย การละเล่นเพื่อความบันเทิงและการพักผ่อน การแพทย์และการอนามัย และการศึกษา เพื่อให้เจริญเติบโตขึ้นโดยเสรี มีความสมบูรณ์พร้อมเพรียงทั้งทางด้านร่างกาย สมอง ศีลธรรม และจิตใจ สมกับที่เกิดมาเป็นสมาชิกคนหนึ่ง
เนื่องจากยูนิเซฟเป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกทั้งหมดและหน่วยงานชำนัญพิเศษทั้งหลายจึงเป็นสมาชิกของยูนิเซฟด้วย นอกจากนี้องค์การเอกชนและบุคคลทั่วไปก็ได้มีส่วนสนับสนุนงานของยูนิเซฟทั้งในด้านการเงินและวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก
โดยทั่วๆไป ยูนิเซฟจะมีผู้ประสานงานโครงการอยู่ในประเทศสมาชิก เพื่อดำเนินการช่วยเหลือและสนับสนุนงานพัฒนาเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานอนามัยแม่และเด็ก โภชนาการ การส่งเสริมสุขภาพเด็กโครงการการเลี้ยงเด็กกลางวัน และบริการสวัสดิการชุมชนรวมทั้งโครงการที่มีผลทางอ้อมต่อสุขภาพอนามัยของเด็ก เช่น โครงการวางแผนครอบครัว โครงการประปาหมู่บ้าน โครงการพัฒนาชนบทแบบผสมผสาน เหล่านี้ เป็นต้น
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ยูนิเซฟได้รับรางวัลโนเบลในฐานะที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการมอบรางวัลได้ประกาศว่า "ยูนิเซฟได้สร้างการเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและยากจน ทำให้เราทั่วไปต่างรู้สึกว่า แท้ที่จริงแล้วโลกก็คือครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง ถ้าเราต้องการจะอยู่กันโดยสันติสุข เรา
ก็ต้องเริ่มด้วยการให้ความสนใจและเอาใจใส่แก่เด็กทุกคนในบ้าน เป็นประการแรก"

[กลับหัวข้อหลัก]

ตรากองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ



สภากาชาดสากล
ผู้ให้กำเนิดสภากาชาดสากล คือนายอังรี ดูนังต์(Henry Dunant) ชาวสวิตเซอร์แลนด์ เขาเกิดเมื่อวันที่ ๘พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๑ ณ กรุงเจนีวา ในครอบครัวขุนนางตระกูลสูง ดูนังต์เป็นนักท่องเที่ยวเขาเดินทางไปแสวงหาโชคลาภในทวีปแอฟริกาเหนือ ๒ ครั้ง ในการเดินทางครั้งที่ ๒ เขาผ่านไปทางภาคเหนือของอิตาลีที่หมู่บ้านซอลเฟริโน (Solferino) ณ ที่นี้เองที่เขาได้เห็นการสู้รบระหว่างทหารฝรั่งเศส ซึ่งเขามาช่วยอิตาลีรบกับออสเตรีย เขาเห็นทหาร ๔๐,๐๐๐ จากจำนวน ๔๐๐,๐๐๐ คน บาดเจ็บล้มตายโดยไม่มีผู้ใดช่วยเหลือ ด้วยแรงบันดาลใจครั้งนี้ เขาจึงคิดที่จะสร้างองค์การอาสาสมัครเพื่อดูแลทหารบาดเจ็บในยามสงครามขึ้น
จากความคิดของอังรี ดูนังต์ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๖ ก็ได้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อบรรเทาทุกข์ทหารบาดเจ็บ" (International Committee for the Relief of Wounded Combatants) ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ได้รับการปรับปรุงให้เป็นสภากาชาดสากล (International Commitee of the Red Cross) และได้เจริญเป็นปึกแผ่นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
สัญลักษณ์ของกาชาดคือเครื่องหมายกากบาทแดงอันเป็นการให้เกียรติแก่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดกาชาด แต่เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเครื่องหมายกากบาทมีความสำคัญทางคริสต์ศาสนาในอนุสัญญาเจนีวาจึงอนุมัติให้ประชากรมุสลิมใช้เครื่องหมายซีกวงเดือนแดงแทนกากบาทแดงทั่วโลกถือกันว่าวันที่ ๘ พฤษภาคมของทุกปีซึ่งตรงกับวันเกิดของอังรี ดูนังต์ เป็นวันที่ระลึกกาชาดสากล และจวบถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๓ สภากาชาดสากลมีสภาชิกรวมทั้งสิ้น ๑๒๖ ประเทศ สภากาชาดแต่ละประเทศตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้และบาดเจ็บ ทั้งในยามสงครามและยามสงบ ตลอดจนการบรรเทาสาธารณภัยโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ชั้น วรรณะ ลัทธิ ศาสนา หรืออุดมคติในทางการเมืองของผู้ประสบภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังมีองค์กรซึ่งทำหน้าที่ประสานงานของสภากาชาดไปประเทศต่างๆเรียกว่า "สันนิบาตสภากาชาด" ซึ่งสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ โดยนายเฮนรี พี. เดวิดสัน(Henry P.Davidson) เป็นผู้ริเริ่ม และในขณะนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


[กลับหัวข้อหลัก]

สัญลักษณ์ของกาชาด



สภากาชาดไทย

ความคิดที่จะให้มีสภากาชาดไทย เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) ซึ่งเป็นปีที่เกิดกรณีพิพาทแย่งดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส อันเป็นผลให้เกิดมีการสู้รบกันขึ้น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์หัวหน้าหญิงไทยสกุลสูงในสมัยนั้นมีความห่วงใยในทหารบาดเจ็บ จึงนำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา บรมราชเทวี ขอให้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในการจัดตั้งองค์การบรรเทาทุกข์ทหาร ในทำนองเดียวกับสภากาชาดในต่างประเทศ ซึ่งในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งองค์กรดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า "สภาอุณาโลมแดง" โดยมีเจ้านายฝ่ายในชั้นสูง และหญิงผู้มีเกียรติอาสาสมัครเข้าปฏิบัติงานในองค์กรที่จัดตั้งขึ้น มีกิจกรรมสำคัญ คือ การส่งเวชภัณฑ์อาหาร เสื้อผ้า และของใช้ไปบำรุงทหารในสนามรบ
กิจกรรมของสภาอุณาโลมแดงได้ซบเซาลงภายหลังกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้สิ้นสุดลง และได้กลับมาฟื้นฟูขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานที่ดินและทุนทรัพย์ก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ขึ้นอยู่กับสภากาชาดสยามที่วิวัฒนาการมาเป็นสภากาชาดไทยในปัจจุบัน คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้รับรองสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๓ และสันนิบาตสภากาชาดได้รับสภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔
สภากาชาดไทยมีตัวแทนอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ในนามของ "เหล่ากาชาดจังหวัด" ซึ่งมีหน้าที่บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยและราษฎรที่ยากจนในท้องถิ่นทุรกันดาร ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมกิจการอนุกาชาด อาสากาชาด บริการโลหิต และบริการดวงตาอีกด้วย
ในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทยและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาสภากาชาดไทย

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

1.ทำไมต้องให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เชื้อไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อโดยทางน้ำลายและเสมหะ[airborn droplet]ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายเองใน2-3วันบางส่วนต้องนอนโรงพยาบาลและเสียวชีวิตโดยเฉพาะผู้สูงอายุอาการของไข้หวัดใหญ่ ไขหนาวสั่น้ เจ็บคอ ไอปวดศีรษะปวดตามกล้ามเนื้อ
2.ทำไมต้องฉีดทุกปี 1.เพราะเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงทุกปีดังนั้นการผลิตวัคซีนจึงมีการเปลี่ยนแปลงทุกปีเพื่อให้ครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุ 2.ภูมิคุ้มกันที่เกิดจะเฉพาะเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเท่านั้น 3.หลังฉีด2สัปดาห์จึงเกิดภูมิต้านทานโรคและอยู่ได้1ปี หลังจากนั้นหากได้เชื้อตัวเดิมก็สามารถป่วยเป็นโรคได้
3.ใครควรได้รับวัคซีน ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นประจำ ควรจะฉีดในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่
•ผู้ใหญ่อายุเกิน65ปี
•เด็กอายุ 6-23 เดือน
•ผู้ที่อาศัยในสถานพักฟื้น สถานสงเคราะห์คนชรา
•ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด โรคตับ โรคเลือด โรคหอบหืด
•ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น โรคเอดส์ ผู้ป่วยที่ได้รับยา steroid ผู้ป่วยรังศีรักษาหรือเคมีบำบัด
•เด็ก6เดือนที่ได้รับ aspirineในการรักษาโรค[ถ้าได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิด [Reye Syndrome]
•หญิงตั้งครรภ์3เดือนขึ้นไปในขณะที่มีการระบาดของโรค
•เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ต้องสัมผัสโรค
•เจ้าหน้าที่ที่บริการสังคม
•นักท่องเที่ยว
•นักเรียนหรือนักศึกษาเพื่อป้องกันการระบาด
•บุคคลที่ต้องการฉีด
ภูมิคุ้มกันจะขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีน

ผู้ที่อายุ50-64 ปี
ได้มีการศึกษาพบว่าร้อยละ 29 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีน นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสียงก็ได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีน จึงแนะนำว่าควรที่จะฉีดวัคซีนให้กับคนในกลุ่มนี้ทุกคน แทนที่จะเลือกเฉพาะคนที่ป่วย

เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลคนที่มีปัจจัยเสี่ยง
เจ้าหน้าที่ผู้ดูและผู้ป่วยเรื้อรังซึ่งจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง เช่นโรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคเลือด โรคมะเร็งฯลฯ เจ้าหน้าที่เหล่านี้อาจจะนำเอาเชื้อไขหวัดใหญ่มาให้ผู้ป่วยโดยที่ตัวเองยังไม่เกิดอาการ ได้มีการศึกษาพบว่าหากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ อัตราการตายของผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะลดลง เจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้แก่

•แพทย์ พยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ
•คนงานในสถานที่เลี้ยงดูผู้สูงอายุ
•สมาชิกในครอบครัวกลุ่มเสี่ยง
คนท้องกับการฉีดวัคซีนไข้หวัด
จากการะบาดครั้งก่อนพบว่าผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์จะมีอัตราการมีโรคแทรกซ้อนเนื่องมาจากเป็นไข้หวัด จากสถิติที่ผ่านมาพบว่า หากตั้งครรภ์ 14-20 สัปดาห์จะมีอัตราการนอนโรงพยาบาล 1.4 เท่า หากตั้งครรภ์ 37-42 สัปดาห์จะมีอัตราการนอนโรงพยาบาล 4.7เท่าของผู้ป่วยหลังคลอด จึงมีคำแนะนำว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปควรจะฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในช่วงที่มีการระบาดของโรค สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์และมีโรคประจำตัวก็ให้ฉีดวัคซีนโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีโรคระบาด

สำหรับคนที่ให้นมบุตรก็สามารถฉีดวัคซีนได้โดยไม่เป็นผลเสีย

อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าจะสนับสนุนหรือคัดค้านการฉีดวัคซีนดังกล่าวแก่กลุ่มเสี่ยงข้างต้น

5.เมื่อไหร่จึงจะฉีดวัคซีน

•เด็กอายุน้อยกว่า9ปีให้ฉีด1ครั้ง
•อายุมากกว่า9ปีให้ฉีด2ครั้งห่างกัน1เดือน
สามารถให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นได้เช่น วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ

6.ฉีดวัคซีนไปแล้วสามารถฉีดซ้ำได้หรือไม่ สามารถฉีดได้เนื่องจากเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงเร็ววัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อ Influenza virus เท่านั้น

7.บุคคลใดที่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนได้รับวัคซีน. •ผู้ป่วยแพ้ไข่ขาว
•แพ้วัคซีน influenza vaccine
•ผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็น Guillain-Barre Syndrome
•ขณะที่กำลังมีไข้สูง
8.ผลข้างเคียงของวัคซีน

•อาการบริเวณที่ฉีด เจ็บบริเวณที่ฉีดซึ่งไม่มาก และจะหายใน 2 วัน
•อาการทั่วๆไปจะมีไข้ ปวดตามตัวหลังจากฉีด 6-12 ชั่วโมงและอยู่ได้นาน 1-2 วัน บางรายอาจจะมีผื่นลมพิษริมฝีปากบวม
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน

วัคซีนไขหวัดใหญ่ชนิดฉีด

วัคซีนชนิดฉีดนี้เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อโรคที่ตายแล้ว

อายุ ขนาด จำนวนครั้ง ตำแหน่งที่ฉีด
6-35 เดือน 0.25 มล. 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน กล้ามเนื้อต้นขา
3-8 ปี 0.5 มล. 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน กล้ามเนื้อหน้าขา
มากกว่า 8 ปี 0.5 มล. 1 ครั้ง กล้ามเนื้อไหล่

วัคซีนชนิดสูดทางจมูก

วัคซีนนี้เกิดจากการทำให้เชื้อโรคอ่อนแรงแต่ยังไม่ตาย ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัคซีนประกอบไปด้วยเชื้อ 3 ชนิดเหมือนกับชนิดฉีด เริ่มใช้ในประเทศรัสเซีย จากการทดลองเบื้องต้นพบว่าได้ผลดี กำลังรอการอนุมัติจากองการอาหารและยา

อายุ ขนาด จำนวน วิธีการ
5-8 ปี 0.5 1-2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน พ่นเข้าจมูกข้างละ 0.25 มล
9-49 0.5 1 ครั้ง พ่นเข้าจมูกข้างละ 0.25 มล

ไม่ควรให้วัคซีนชนิดพ่นจมูกในผู้ป่วยใด

•ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 5 ปี
•ผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี
•ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเอดส์ เป็นต้น
•ผู้ที่ต้องรับประทาน aspirin
•คนที่ตั้งครรภ์
•คนที่มีประวัติแพ้วัคซีน
•คนที่มีประวัติเป็น Guillain-Barr? syndrome

ความปลอดภัย

ความปลอดภัย


[จุดประสงค์] [ผู้จัดทำ] [ทดสอบก่อนเรียน] [ทดสอบหลังเรียน]

--------------------------------------------------------------------------------

ความปลอดภัยในชีวิต หมายถึง การปราศอันตราย การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ความสบายไม่เสี่ยงกับภัยนานาชนิดซึ่งนับวันจะมีมากขึ้น มีความมั่นใจในการประกอบกิจกรรมต่างๆและมีการเตรียมป้องกันภัยไว้ล่วงหน้าอยู่ตลอดเวลาอย่างถูกต้องและเหมาะสม


หลักทั่วไปของความปลอดภัยมีหลายประการ ดังนี้


1.ควรเริ่มต้นที่ตนเองก่อน ตนเองต้องระลึกอยู่เสมอว่า อุบัติเหตุป้องกันได้ถ้าไม่ประมาท การกระทำที่ประมาทและเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วจะมีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่นได้

2.การป้องกันอุบัติเหตุเป็นหน้าที่ของทุกคน ต้องระลึกอยู่เสมอว่า เราต้องช่วยกันป้องกันอุบัติเหตุ อย่าเห็นแก่ตัว อย่าตัวว่าไม่ใช่เรื่องของตนเอง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตนเองและส่วนรวม

3.ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอันตรายหรืออุบัติเหตุต่างๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

4.ควรศึกษาคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติหรือวิธีใช้เครื่องจักรกล จากผู้รู้หรือผู้จำหน่ายให้เข้าใจก่อนที่จะนำมาใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติหรือวิธีใช้อย่างเคร่งครัด

5.ควรสนใจข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างๆ ของโลก ควรติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรอสิ่งอื่นๆ ถึงความเคลื่อนไหวต่างๆของโลกในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัย และควรสนใจประกาศของทางราชการที่เกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศ และข้อแนะนำอื่นๆ เพื่อเตรียมการป้องกันอุบัติเหตุไว้ล่วงหน้า

6.การปรับปรุงและแก้ไขสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่ใกล้ตัวให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยอยู่เสมอ

7.การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย เช่น ซ่อมไฟฟ้าโดยไม่ตัดกระแสไฟฟ้าก่อน ขับรถเร็วเกินความเร็วที่กำหนด เป็นต้น

8.มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ ต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด เช่น ข้ามถนนต้องใช้สะพานลอยรือทางคนข้าม ซึ่งจะช่วยให้เราปลอดภัย เป็นต้น

9.รักษาสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ต้องรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ร่างกายและจิตใจมีความพร้อมอยู่เสมอ มีสติดี ช่วยใหนการตัดสินใจเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่เสี่ยงได้อย่างปลอดภัย

ใบเตย

น้ำใบเตย

น้ำใบเตย






ส่วนผสม

- ใบเตย 5 กรัม (1 ใบ )
- น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 1 ช้อนคาว )
- น้ำเปล่าต้มสุก 240 กรัม ( 16 ช้อนคาว )


วิธีทำ

1.นำใบเตยสดล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนๆใส่หม้อต้มด้วยน้ำสะอาด
2.พอเดือดก็ลดไฟลง เคี่ยวไปเรื่อยๆจนมองเห็นสีของใบเตยสีเขียวอ่อนเจือจาง
3.ตักใบเตยออกด้วยการกรองให้เหลือแต่น้ำใบเตย
4.เอาเกลือป่นใส่ครึ่งช้อนชา ตามด้วยน้ำเชื่อม
5.ปล่อยให้เดือดต่อไปอีก 5 นาที

อีกวิธีหนึ่ง เอาใบเตยมาล้างให้สะอาด ตากแดดให้แห้งเอาไปคั่วแล้วเก็บใส่ขวดหรือกระป๋องแบบใบชา ก็จะได้"ชาเตยหอม" เมื่อต้องการดื่มก็เอามาชงแบบชงน้ำชา กลิ่นหอมชวนดื่ม ราคาถูก


ประโยชน์ที่ร่างกายได้รับ

คุณค่าทางอาหาร : ใช้แต่งสีอาหาร เพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร

คุณค่าทางยา : ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่น