วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

องค์การยูเนสโก

องค์การยูเนสโก (UNESCO)



องค์การยูเนสโก หรือ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ นั้น
เป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2489
มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ยูเนสโก มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสร้างสรรค์สันติภาพ
โดยส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมเพื่อให้ทั่วโลกเคารพ
ในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิและเสรีภาพที่มนุษย์พึงมี โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ ภาษาหรือศาสนา
ตามกฎบัตรสหประชาชาติ

ปกติ ยูเนสโก จะใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาทางการแต่ในระหว่างการประชุม
สมัยสามัญของยูเนสโก และการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก จะใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องถึง
6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเชีย อาหรับ สเปน และจีน

ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2492 (ลำดับที่ 49)
ปัจจุบัน ยูเนสโกมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 188 ประเทศ ประเทศสมาชิกล่าสุดคือประเทศ MICRONESIA
โดยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2542

ในการดำเนินงานของยูเนสโกนั้นจะปรากฎในรูปของการประชุมสมัยสามัญ ซึ่งมีทุกๆ 2 ปี
คณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม จำนวน
58 คน ที่เลือกมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก อยู่ในวาระ 4 ปี โดยจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่
ครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ผู้อำนวยการใหญ่ จะเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดขององค์การอยู่ในวาระ 6 ปี

ยูเนสโก จัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาค และสำนักงานย่อยประจำพื้นที เพื่อให้ยูเนสโก ประสานงาน
กับประเทศต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด (ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีสำนักงานยูเนสโกประจำภูมิภาคอยู่ที่
กรุงเทพ : อาคารดาราคาร, เอกมัย) แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก
และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้น ๆเพื่อดำเนินงานในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ

สำนักผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525
เป็นต้นมา มีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส ปัจจุบันมีเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสเป็นผู้แทนถาวรไทย
และมี ดร. ดวงทิพย์ สุรินทาธิป เป็นรองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก

สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

ความเป็นมา
ประเทศไทยได้เข้าเป็นรัฐสมาชิกของยูเนสโก ลำดับที่ 49 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2492
หลังจากนั้น 1 ปี รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการติดต่อกับ
ยูเนสโก โดยได้ตั้งสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
แห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นหน่วยประสานงาน ขึ้นที่กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัด-
กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ในประเทศเกี่ยวกับการ
ให้ - รับ ความช่วยเหลือ และการร่วมมือกับยูเนสโกในด้านการดำเนินโครงการต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา
วิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ วัฒนธรรมและสื่อสารมวลชน ความช่วยเหลือมีในรูปของสิ่งพิมพ์
อุปกรณ์ ทุนการศึกษา การจัดการประชุมระหว่างประเทศ การสัมมนา การฝึกอบรม ฯลฯ

สถานภาพปัจจุบันและองค์ประกอบ

คณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามมติ
คณะรัฐมนตรี ฉะนั้นสถานภาพของคณะกรรมการจะคงอยู่หรือเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนเเปลง
ของคณะรัฐบาล
ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที 16 กันยายน 2540 คณะกรรมการแห่งชาติฯ มีรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงศึกษาธิการดำรงตำแหน่งประธาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการดำรงตำเเหน่ง
รองประธาน ผู้แทนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ของยูเนสโก จากหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นกรรมการ และมีคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย รองปลัด
กระทรวงศึกษาธิการฝ่ายต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการ คณะกรรมการแห่งชาติฯ
ผู้อำนวยการกองการสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. ทำหน้าที่เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการ-
แห่งชาติฯ และหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่มในกองการสัมพันะต่างประเทศ สป. ทำหน้าที่เป็นกรรมการ
และผู้ช่วยเลขาธิการ

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ

คณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้รับการแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540
ปัจจุบันมีคณะกรรมการรวม 7 คณะ คือ

1. คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา
2. คณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์
3. คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรม
4. คณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์
5. คณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชน
6. คณะกรรมการระบบสารนิเทศสากล
7. คณะกรรมการยกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแห่งชาติฯ

ตามกฎบัตรของยูเนสโกว่าด้วยคณะกรรมการแห่งชาติฯ (Charter of the National Commissions
for UNESCO) มีดังนี้

1. คณะกรรมการแห่งชาติฯ ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้กระทรวง ทบวง กรม
หน่วยงาน สถาบัน องค์การ และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของยูเนสโก เพื่อความ
ก้าวหน้า ทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และข่าวสารข้อมูล ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศสมาชิก
ดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
ก. มีส่วนร่วมในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่นคงปลอดภัย และ สวัสดิภาพของมนุษยชาติ
โดยการร่วมในกิจกรรมของยูเนสโก ซึ่งมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับชนชาติต่างๆ
ให้การศึกษาแก่ประชาชน เผยแพร่วัฒนธรรม รักษาเพิ่มพูนและเผยแพร่วิทยาการ
ข. มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติงานของยูเนสโก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการร่างและดำเนิน
โครงการขององค์การฯ
2. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คณะกรรมการแห่งชาติฯ จึงดำเนินการ ดังนี้
ก. ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลและยูเนสโกในเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายงานขององค์การฯ
ข. ประสานงานกับรัฐบาล หน่วยงาน บริการ องค์การ สถาบัน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ในเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายงานของยูเนสโก
ค. ส่งเสริมให้สถาบันระดับชาติทั้งที่เป็นของรัฐบาลและไม่ใช่ของรัฐบาล ตลอดจน
บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมและดำเนินโครงการของยูเนสโกเพื่อให้ความช่วยเหลือ
ทางด้านปัญญา วิชาการ ศิลปะ หรือบริหาร ซึ่งองค์การฯ อาจต้องขอความช่วยเหลือ
ง. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความมุ่งหมาย โครงการและกิจกรรมของยูเนสโกตลอดจน
พยายามกระตุ้นความสนใจของประชาชนทั่วไปในงานของยูเนสโกด้วย
จ. เข้าร่วมในการวางเเผนและดำเนินงานต่างๆ ของยูเนสโก ซึ่งได้รับความช่วยเหลือตาม
โครงการพัฒนา เเห่งสหประชาชาติ โครงการสิ่งเเวดล้อมแห่งสหประชาชาติ กองทุนสหประชาชาติ
เพื่องานประชากรและโครงการะหว่างประเทศอื่นๆ
ฉ. เข้าร่วมในการเลือกสรรผู้สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งต่างๆ ของยูเนสโกตามโครงการปกติ
ขององค์การฯ หรือจากงบประมาณยอดพิเศษอื่นๆ ตลอดจนจัดหาสถานศึกษาหรืออบรมแก่ผู้ได้รับทุน
ยูเนสโก
ช. ร่วมกับคณะกรรมการแห่งชาติของประเทศอื่นๆ ศึกษา วิจัยเรื่องที่อยู่ในขอบข่าย
ความรับผิดชอบขององค์การฯ
ซ. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่เห็นสมควรที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์โดยทั่วไปของยูเนสโก
3. คณะกรรมการแห่งชาติฯ จะร่วมมือกับคณะกรรมการแห่งชาติฯ ของประเทศอื่นๆ ประสานงาน
กับสำนักงานส่วนภูมิภาคและศูนย์อื่นๆ ของยูเนสโก ในการส่งเสริมความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาค
ภูมิภาคย่อย และทวิภาคีในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการ
วางเเผน และดำเนินงาน ร่วมกัน การร่วมมือนี้อาจจะส่งผลดีต่อการเตรียมการการดำเนินงานและการ
ประเมินผลโครงการ และอาจเป็นรูปของการร่วมมือกันสำรวจ การสัมมนา การประชุม และการ
เเลกเปลี่ยนข่าวสาร วัสดุอุปกรณ์ และเยี่ยมเยียนซึ่งกันเเละกัน
4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2540)

ประกอบด้วย

1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการ
2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานกรรมการ
3. ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย กรรมการ
4. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หรือผู้แทน กรรมการ
5. อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทน กรรมการ
6. อธิบดีกรมวิเทศสหการ หรือผู้แทน กรรมการ
7. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน กรรมการ
8. เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ
หรือผู้แทน กรรมการ
9. ประธานคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการ
แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
10. ประธานคณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการ
แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
11. ประธานคณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการ
แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
12. ประธานคณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการ
แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
13. ประธานคณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวชนของคณะกรรมการ
แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
14. ประธานคณะกรรมการระบบสารนิเทศสากลของ
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กรรมการ
15. ศาสตราจารย์ ดร. อดุล วิเชียรเจริญ กรรมการ
16. ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล กรรมการ
17. รองศาสตราจารย์ ดร. ศลักษณ์ ทรรพนันทน์ กรรมการ
18. รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและเลขาธิการ
(ฝ่ายการต่างประเทศ)
19. ผู้อำนวยการกองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและรองเลขาธิการ
20. หัวหน้ากลุ่มความร่วมมือพหุภาคี
กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ
21. หัวหน้ากลุ่มสารสนเทศการต่างประเทศด้านการศึกษา
กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ
22. หัวหน้ากลุ่มความร่วมมือทวิภาคี
กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ
23. หัวหน้ากลุ่มประสานงานและการประชุมนานาชาติ
กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ
24. หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมมาตรฐานสากลด้านการศึกษา
กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ

1 ความคิดเห็น: