วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

1.ทำไมต้องให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เชื้อไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อโดยทางน้ำลายและเสมหะ[airborn droplet]ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายเองใน2-3วันบางส่วนต้องนอนโรงพยาบาลและเสียวชีวิตโดยเฉพาะผู้สูงอายุอาการของไข้หวัดใหญ่ ไขหนาวสั่น้ เจ็บคอ ไอปวดศีรษะปวดตามกล้ามเนื้อ
2.ทำไมต้องฉีดทุกปี 1.เพราะเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงทุกปีดังนั้นการผลิตวัคซีนจึงมีการเปลี่ยนแปลงทุกปีเพื่อให้ครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุ 2.ภูมิคุ้มกันที่เกิดจะเฉพาะเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเท่านั้น 3.หลังฉีด2สัปดาห์จึงเกิดภูมิต้านทานโรคและอยู่ได้1ปี หลังจากนั้นหากได้เชื้อตัวเดิมก็สามารถป่วยเป็นโรคได้
3.ใครควรได้รับวัคซีน ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นประจำ ควรจะฉีดในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่
•ผู้ใหญ่อายุเกิน65ปี
•เด็กอายุ 6-23 เดือน
•ผู้ที่อาศัยในสถานพักฟื้น สถานสงเคราะห์คนชรา
•ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด โรคตับ โรคเลือด โรคหอบหืด
•ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น โรคเอดส์ ผู้ป่วยที่ได้รับยา steroid ผู้ป่วยรังศีรักษาหรือเคมีบำบัด
•เด็ก6เดือนที่ได้รับ aspirineในการรักษาโรค[ถ้าได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิด [Reye Syndrome]
•หญิงตั้งครรภ์3เดือนขึ้นไปในขณะที่มีการระบาดของโรค
•เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ต้องสัมผัสโรค
•เจ้าหน้าที่ที่บริการสังคม
•นักท่องเที่ยว
•นักเรียนหรือนักศึกษาเพื่อป้องกันการระบาด
•บุคคลที่ต้องการฉีด
ภูมิคุ้มกันจะขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีน

ผู้ที่อายุ50-64 ปี
ได้มีการศึกษาพบว่าร้อยละ 29 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีน นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสียงก็ได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีน จึงแนะนำว่าควรที่จะฉีดวัคซีนให้กับคนในกลุ่มนี้ทุกคน แทนที่จะเลือกเฉพาะคนที่ป่วย

เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลคนที่มีปัจจัยเสี่ยง
เจ้าหน้าที่ผู้ดูและผู้ป่วยเรื้อรังซึ่งจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง เช่นโรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคเลือด โรคมะเร็งฯลฯ เจ้าหน้าที่เหล่านี้อาจจะนำเอาเชื้อไขหวัดใหญ่มาให้ผู้ป่วยโดยที่ตัวเองยังไม่เกิดอาการ ได้มีการศึกษาพบว่าหากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ อัตราการตายของผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะลดลง เจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้แก่

•แพทย์ พยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ
•คนงานในสถานที่เลี้ยงดูผู้สูงอายุ
•สมาชิกในครอบครัวกลุ่มเสี่ยง
คนท้องกับการฉีดวัคซีนไข้หวัด
จากการะบาดครั้งก่อนพบว่าผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์จะมีอัตราการมีโรคแทรกซ้อนเนื่องมาจากเป็นไข้หวัด จากสถิติที่ผ่านมาพบว่า หากตั้งครรภ์ 14-20 สัปดาห์จะมีอัตราการนอนโรงพยาบาล 1.4 เท่า หากตั้งครรภ์ 37-42 สัปดาห์จะมีอัตราการนอนโรงพยาบาล 4.7เท่าของผู้ป่วยหลังคลอด จึงมีคำแนะนำว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปควรจะฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในช่วงที่มีการระบาดของโรค สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์และมีโรคประจำตัวก็ให้ฉีดวัคซีนโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีโรคระบาด

สำหรับคนที่ให้นมบุตรก็สามารถฉีดวัคซีนได้โดยไม่เป็นผลเสีย

อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าจะสนับสนุนหรือคัดค้านการฉีดวัคซีนดังกล่าวแก่กลุ่มเสี่ยงข้างต้น

5.เมื่อไหร่จึงจะฉีดวัคซีน

•เด็กอายุน้อยกว่า9ปีให้ฉีด1ครั้ง
•อายุมากกว่า9ปีให้ฉีด2ครั้งห่างกัน1เดือน
สามารถให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นได้เช่น วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ

6.ฉีดวัคซีนไปแล้วสามารถฉีดซ้ำได้หรือไม่ สามารถฉีดได้เนื่องจากเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงเร็ววัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อ Influenza virus เท่านั้น

7.บุคคลใดที่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนได้รับวัคซีน. •ผู้ป่วยแพ้ไข่ขาว
•แพ้วัคซีน influenza vaccine
•ผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็น Guillain-Barre Syndrome
•ขณะที่กำลังมีไข้สูง
8.ผลข้างเคียงของวัคซีน

•อาการบริเวณที่ฉีด เจ็บบริเวณที่ฉีดซึ่งไม่มาก และจะหายใน 2 วัน
•อาการทั่วๆไปจะมีไข้ ปวดตามตัวหลังจากฉีด 6-12 ชั่วโมงและอยู่ได้นาน 1-2 วัน บางรายอาจจะมีผื่นลมพิษริมฝีปากบวม
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน

วัคซีนไขหวัดใหญ่ชนิดฉีด

วัคซีนชนิดฉีดนี้เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อโรคที่ตายแล้ว

อายุ ขนาด จำนวนครั้ง ตำแหน่งที่ฉีด
6-35 เดือน 0.25 มล. 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน กล้ามเนื้อต้นขา
3-8 ปี 0.5 มล. 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน กล้ามเนื้อหน้าขา
มากกว่า 8 ปี 0.5 มล. 1 ครั้ง กล้ามเนื้อไหล่

วัคซีนชนิดสูดทางจมูก

วัคซีนนี้เกิดจากการทำให้เชื้อโรคอ่อนแรงแต่ยังไม่ตาย ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัคซีนประกอบไปด้วยเชื้อ 3 ชนิดเหมือนกับชนิดฉีด เริ่มใช้ในประเทศรัสเซีย จากการทดลองเบื้องต้นพบว่าได้ผลดี กำลังรอการอนุมัติจากองการอาหารและยา

อายุ ขนาด จำนวน วิธีการ
5-8 ปี 0.5 1-2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน พ่นเข้าจมูกข้างละ 0.25 มล
9-49 0.5 1 ครั้ง พ่นเข้าจมูกข้างละ 0.25 มล

ไม่ควรให้วัคซีนชนิดพ่นจมูกในผู้ป่วยใด

•ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 5 ปี
•ผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี
•ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเอดส์ เป็นต้น
•ผู้ที่ต้องรับประทาน aspirin
•คนที่ตั้งครรภ์
•คนที่มีประวัติแพ้วัคซีน
•คนที่มีประวัติเป็น Guillain-Barr? syndrome

1 ความคิดเห็น: