วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานอาชีพ

ตัวอย่างโครงงาน
เรื่อง น้ำมะกรูด สูตรข้างครัว


โครงงาน เรื่อง น้ำมะกรูด สูตรข้างครัว


จัดทำโดย

เด็กหญิงณัฏฐพร ทองเชื้อ
เด็กหญิงสรนันท์ นุ่มจุ้ย
เด็กหญิงสุภาพร บัวเทศ
เด็กหญิงดวงกมล สมบูรณ์โชคดี
เด็กหญิงฐนันทิพย์ เตชะศิลปภักดี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/13

ครูที่ปรึกษา
อาจารย์วริษฐา ลิโมภาสิทธิ์
โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1
บทคัดย่อ

มะกรูด เป็นสมุนไพรที่อยู่ในบ้านของทุกคน และหาได้ง่ายในบ้านของเรา ซึ่งมะกรูดสามารถรับประทานได้ทั้งใบและผล เราจึงอยากนำมะกรูดมาทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร
จากการศึกษาและค้นคว้าด้วยการทำโครงงานทดลองพบว่า มีข้อมูลที่น่าสนใจ คือ สารที่สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของอวัยวะสำคัญในการขจัดสารพิษมากมาย ซึ่งสารที่ว่านี้ได้มาจากมะกรูด
โครงงาน น้ำมะกรูดสูตรข้างครัว มีจุดมุ่งหมายในการทำงาน โดยนำมะกรูดมาแปรรูปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และยังเป็นการนำ สิ่งที่หาได้ง่ายภายในบ้านมาใช้ให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แก่คนในกลุ่มอีกด้วย
















กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณป้าสุนีย์ สมบูรณ์โชคดี ที่ให้ความรู้และถ่ายทอดวิธีการทำน้ำมะกรูดสมุนไพร ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างละเอียด ด้วยความเมตตาและตั้งใจจริง ขอบพระคุณ ครูวริษฐา ลิโมภาสิทธิ์ ที่กรุณาให้คำแนะนำในการจัดทำโครงงาน อำนวยความสะดวกจัดหาอุปกรณ์ อุทิศเวลา และเป็น ที่ปรึกษาโครงงาน โดยเฉพาะการนำเสนอที่ถูกต้อง
สุดท้ายนี้ขอขอบใจเพื่อนนักเรียน ชั้น ม.1/13 ทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ให้ข้อแนะนำเสนอแนะ ทำให้ผลงานออกมาได้เป็นอย่างดี


คณะผู้จัดทำ















คำนำ

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอโครงงาน การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในหัวข้อ น้ำมะกรูด สูตรข้างครัว
คณะผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาจากหนังสือ ผลไม้และเครื่องดื่มผสม รวบรวมข้อมูลและเก็บบันทึกข้อมูล เพื่อศึกษาสมุนไพรที่ช่วยในการบำรุงร่างกายมนุษย์เราให้แข็งแรง
ด้วยความตั้งใจ สามัคคี ในการนำเสนอโครงงานชิ้นนี้ เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั่วไป


คณะผู้จัดทำ


















สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
คำนำ ค
สารบัญ ง
บทที่ 1 บทนำ 1
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 1
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1
สมมติฐานการศึกษา 1
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2
เอกสารอ้างอิง 3
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา 4
บทที่ 3 วิธีการดำเนินโครงงาน 5
ตารางปฏิบัติกิจกรรม 6
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา 7
วิธีการศึกษา 8
บทที่ 4 ผลการศึกษา 9
ผลการศึกษา 10
การศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 11
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา 12
สรุปผลการศึกษา 13
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 14
ข้อเสนอแนะ 15
บรรณานุกรม 16


บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากมะกรูดเป็นสมุนไพรที่หาง่ายในบ้าน และยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เราจึงคิดนำผลมะกรูดมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร ที่ง่ายต่อการรับประทาน และสามารถทำกินเองได้ภายในครอบครัว

วัตถุประสงค์ของการการศึกษา
1. เพื่อแปรรูปสมุนไพรให้ง่ายต่อการรับประทานยิ่งขึ้น
2. เพื่อศึกษาวิธีทำเครื่องดื่มง่ายๆ จากสมุนไพรใกล้ตัว

สมมติฐานการศึกษา
สามารถนำมะกรูดมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรที่ง่ายต่อการดื่ม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้จากการทำน้ำมะกรูด
2. ได้รับประโยชนจากการทำน้ำมะกรูด
3. ฝึกฝนความอดทน
4. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยารักษาโรค




บทที่ 2
การศึกษาเอกสารอ้างอิง

มะกรูด (Ma-krut) , Kaffir lime , leech lime
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.
วงศ์ RUTACEAR
ถิ่นกำเนิด มาเลยเซีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินเดีย
รูปลักษณ์ ไม้พุ่มขนาดใหญ่ ลำต้นเกลี้ยงเกลากิ่งก้านมีหนามแหลม ใบสีเขียวหนา มีกลิ่นหอมฉุน มีน้ำมันหอมระเหย ออกดอกเป็นช่อสีเขียวมีนวลเหลืองบ้าง ลูกกลมผิวหนาขรุขระ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ประกอบอาหาร
ผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผม
ผิวจากลูก - บำรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น
ราก - ถอนพิษ แก้ปวดท้อง แก้พิษฝีภายใน
ลูกมะกรูด - หมักดองเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม รับประทานฟอกล้างและบำรุงโลหิต
ชื่อท้องถิ่น ภาคเหนือ เรียก มะขูด , มะขุน
ภาคใต้ เรียก ส้มกรูด , ส้มมั่วผี
เขมร เรียก โกร้ยเขียด
กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน เรียก มะขู
ลักษณะทั่วไป มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดียว สีเขียวหนา มีลักษณะคอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้าน แผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน ใบสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ดอก ออกเป็นกระจุก 3 - 5 ดอก กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย ผลมีหลายแบบแล้วแต่พันธ์ผลเล็กเท่ามะนาว ผิวขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่หัว
การปลูก มะกรูดปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณทางยา
1. ผิวผลสดและผลแห้ง รสปร่า หอมร้อน สรรพคุณแก้ลมหน้ามืด แก้วิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมลำไส้ ขับระดู
2. ผล รสเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต ใช้สระผมทำให้ผมดกดำ ขจัดรังแค
3. ราก รสเย็นจืด แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะ แก้ลมจุกเสียด
4. น้ำมะกรูด รสเปรี้ยว กัดเสมหะ ใช้ดองยามีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิตสำหรับสตรี
5. ใบ รสปร่าหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน และดับกลิ่นคาว
คติความเชื่อ มะกรูดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้อยู่อาศัยจะได้มีความสุข และในบางตำราว่าเป็นความเชื่อของคนบ้านป่า ที่เดินทางด้วยเกวียนเทียม โคหรือกระบือเมื่อได้กลิ่นสาบเสือ จะหยุดเดิน เจ้าของจะต้องขุดผิวมะนาวหรือมะกรูด ป้ายจมูกให้ดับกลิ่นสาบเสือก่อน โค กระบือ จึงจะเดินต่อไป ดังนั้นการเดินทางสมัยก่อนผ่านป่า ผู้เดินทางจึงมักจะพกพามะนาวและมะกรูดติดตัวไปด้วยเสมอ ในพิธีกรรมการทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ สำหรับพรมหรืออาบผู้ป่วยใบมะกรูดเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้ โดยใช้ร่วมกับใบส้มป่อย ใบเงินใบทอง ใบมะตูม หญ้าแพรก หมากผู้หมากเมีย ในราชพฤกษ์เชื่อกันว่าใบจากต้นไม้มงคลเหล่านี้จะช่วยปัดเป่าและบรรเทาเคราะห์โดยตกลงไปได้
ใบมะกรูดมหัศจรรย์กำจัดแมลงในข้าวสาร
ผลมะกรูด รักษาชันนะตุและแผลบนศีรษะด้วยมะกรูดได้
-ใช้น้ำคั้นที่ได้จากผลมะกรูดหรือนำผลมะกรูดเผาไฟผ่าซีกบีบเอาน้ำและน้ำมันจากผิวมะกรูด ผสมน้ำ 1 เท่า ใช้สระผมแทนแชมพู แล้วลาดออก





บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน

ตารางปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน 1 - 29 สิงหาคม 2551

สัปดาห์ที่ กิจกรรมที่ปฏิบัติ สถานที่ทำกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ
1
1 สิงหาคม 2551 - เลือกหัวข้อการทำโครงงานและ
นำเสนอครู พร้อมทั้งเหตุผลในการทำ
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร
หนังสือจากห้องสมุด
- กำหนดการศึกษาจากวิทยากร
ห้องเรียน ห้อง 112

ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมฐานบินฯ
สมาชิกในกลุ่ม

ครูที่ปรึกษา
2
8 สิงหาคม 2551 - ทำรายงานเพื่อขอเบิกอุปกรณ์
ส่วนค่าใช้จ่าย เก็บคนละ 5 บาท
และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
ติดต่อวิทยากรท้องถิ่น
ห้องเรียน ห้อง 112
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
3
15 สิงหาคม 2551 - ลงมือปฏิบัติทำน้ำมะกรูด
- ให้คุณครู ผู้ปกครองและเพื่อน
ร่วมประเมินรสชาติของน้ำมะกรูด
ห้องเรียน ห้อง 112
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
4
22 สิงหาคม 2551 - เขียนรายงานโครงงานจัดทำรูปเล่ม
และสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม ห้องเรียน ห้อง 112 สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
5
29 สิงหาคม 2551 - นำเสนอการทำเครื่องดื่มสมุนไพรและ
รายงานผลการปฏิบัติงาน ห้องเรียน ห้อง 112 สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา






เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
อุปกรณ์
1. เครื่องปั่นน้ำผลไม้
2. แก้ว
3. หลอด
4. ช้อนชา
วัสดุ
1. มะกรูด
2. เกลือกป่น
3. น้ำเชื่อม
4. น้ำแข็งปั่น
5. น้ำ
วิธีการศึกษา
1. ศึกษาจากวิทยากรท้องถิ่น โดยการสอบถามคุณป้าสุนีย์ สมูบรณ์โชคดี และ ฝึกปฏิบัติทำน้ำมะกรูดปั่น
2. ศึกษาจากเอกสารอ้างอิง และคำบอกเล่าของผู้รู้
3. ประเด็นการศึกษา
- ได้รู้ถึงสรรพคุณของมะกรูด
- ได้รู้วิธีในการทำน้ำมะกรูด
ผลการศึกษา
1. ได้ศึกษาสรรพคุณของมะกรูด
2. ได้ศึกษาวิธีการทำน้ำมะกรูด





บทที่ 4
ผลการศึกษา

1. ได้ศึกษาสรรพคุณของมะกรูด
2. ได้ศึกษาวิธีการทำน้ำมะกรูด























บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา

สรุปผลการศึกษา
การศึกษาการทำน้ำมะกรูด เป็นการนำสิ่งที่ใกล้ตัวมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการฝึกให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อที่จะนำมาพัฒนาเป็นอาชีพเสริมได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
1. ได้ศึกษาการทำน้ำมะกรูด
2. ได้ศึกษาสรรพคุณของมะกรูด
3. นำมาพัฒนาให้เกิดรายได้
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาโครงงานการทำน้ำมะกรูด สามารถพัฒนาให้เป็นอาชีพเสริมได้











บัญชีรายรับ – รายจ่าย

รายรับ รายจ่าย
ว/ด/ป รายการ จำนวนเงิน ว/ด/ป ลำดับ รายการ จำนวน ราคา/หน่วย จำนวนเงิน หมายเหตุ
15/5/51 เก็บเงินสมาชิกในกลุ่มคนละ
5 บาท / คน
(มี 5 คน) 25 บ. 15/8/51 1 ซื้อน้ำตาล
น้ำแข็ง

รวมรายจ่าย
เหลือ ½ กก.
1 ถุง 18 บ.
10 บ. 8 บ.
10 บ.

19
6

เด็กหญิงณัฏฐพร ทองเชื้อ หัวหน้า
เด็กหญิงฐนันทิพย์ เตชะศิลปะภักดี เลขา

โครงงานอาชีพ

โครงงาน


กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด)







จัดทำโดย

เด็กชายฤทธิชัย จันทะคุณ

เด็กหญิงศิริรัตน์ วงค์ตา

เด็กหญิงรัชนีกร คำวัน


ช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านปลาปากน้อย


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1


ครูที่ปรึกษา

นายดนตรี เชื้อสาทุม นางชุติมา สุวรรณบำรุง


--------------------------------------------------------------------------------





1.ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

แต่ก่อนพื้นที่ป่าในบนปลาปากน้อยมีมาก ป่าก็มีความอุดสมบูรณ์ ของป่าต่าง ๆ เช่น เห็ดบด เห็ดขอนขาว เห็ดละโงก เห็ดดินต่าง ๆ ผักหวาน ไข่มดแดง แมงแครง ก็มีจำนวนพอเพียงกับชาวบ้าน ต่อมาเมื่อประชากรเริ่มมีมากขึ้น ชาวบ้านก็ทำการแผ้วถางป่าและบุกรุกป่ามากขึ้นทำให้พื้นที่ป่าลดลง จำนวนของป่าหรืออาหารตามธรรมชาติก็ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงพอต่อความต้องการและเริ่มหายากขึ้นเรื่อย ๆ

อนึ่งไม้ที่ถูกแผ้วถางออกนี้ มักจะถูกเผาทิ้งเป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็นำไปทำเป็นเสารั้วซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างไม่คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการนำไม้ดังกล่าว มาทำการทดลองเพาะเห็ด โดยได้นำไปปรึกษาคณะครูโรงเรียนบ้านปลาปากน้อย ซึ่งคณะครูเห็นชอบให้นักเรียนทำการศึกษาเป็นโครงงานอย่างลุ่มลึก โดยศึกษาในลักษณะเป็นการทดลอง เห็ดที่จะนำมาทดลองนั้นครูดนตรี เชื้อสาทุม ได้แนะนำให้ปลูกเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด) เนื่องจากในชุมชนใกล้เคียงมีเชื้อเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด)ไว้บริการ และเห็ดทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นที่ต้องการของท้องตลาดมาก

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียนและสามารถนำไปประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมในอนาคตได้
2. เพื่อนำเห็ดที่ได้มาประกอบอาหารกลางวันและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม

3. วิธีการศึกษา
1. ศึกษาและค้นคว้ารายละเอียดในเรื่อง วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการดำเนินงาน
จากหนังสืออื่น ๆที่เกี่ยวข้องและจากวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ดำเนินการเพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด) ตามขั้นตอนที่ศึกษา
3. สังเกตและจดบันทึกข้อมูล
4. นำข้อมูลที่ได้มาเขียนเค้าโครงของโครงงาน
5. เรียบเรียงข้อมูล
6. เขียนรายงาน
7. เตรียมนำเสนอ


--------------------------------------------------------------------------------







เห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด) เป็นเห็ดพื้นเมืองที่มีรสชาติดี เป็นที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายในหมู่ของคนไทย โดยเฉพาะทางภาคอิสานและภาคเหนือ เห็ดลมมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น เห็ดกระด้าง เห็ดบด เห็ดขอนดำ ตามธรรมชาติเห็ดลม(เห็ดบด) และเห็ดขอนขาวจะออกดอกตามขอนไม้ในป่าในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน แต่ในปัจจุบันป่าไม้ถูกแผ้วถางเพื่อนำไปเป็นพื้นที่ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นในช่วงฤดูแล้งยังเกิดไฟป่าเผาทำลายขอนไม้แห้งในป่าจนเกือบหมด ทำให้เห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด) ตามธรรมชาติมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ จนแทบจะหาเก็บมาบริโภคกันไม่ได้อีกแล้ว





1. ชนิดของไม้ที่ใช้เพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด)




ไม้มะม่วง





ไม้เต็ง ไม้รัง


2.วัสดุอุปกรณ์
1. ขอนไม้มะม่วง ไม้เต็ง ไม้รัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 6 นิ้ว ยาว 1.50 เมตร
2. เชื้อเห็ด
3. ทราย
4. ปูนซีเมนต์
5. คุถัง
6. สว่าน
7. ไม้สำหรับอัดกดเชื้อเห็ด







ปูนซีเมนต์


ทราย






ขอนไม้

เชื้อเห็ด







สว่าน

คุถัง/กาละมัง






ไม้สำหรับอัดกดเชื้อเห็ด




3. วิธีการและขั้นตอนการเพาะเห็ด




1. เตรียมท่อนไม้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์ 4 – 6 นิ้ว ความยาว 1.50 เมตร







2. ใช้สว่านไฟฟ้าขนาด 5 - 6 หุน เจาะขอนไม้ที่เตรียมไว้เป็นรูให้มีความลึกประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร โดยทำเป็นแถวๆ ตามความยาวของไม้ และให้แต่ละแถวให้ห่างกันประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร แต่ละขอนเจาะรูจำนวนเท่ากัน



3. นำเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้( เปิดถุงเชื้อเห็ดแล้วแกะใส่คุถัง และใช้มือบีบขยำเชื้อเห็ดให้แตกจนละเอียด) ยัดลงไปในรูที่เจาะจนเต็มรู แล้วใช้ไม้ขนาดเท่ารูกดและดันเชื้อเห็ดให้แน่นจนเต็มรู






4. ใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายอัตราส่วน 1 : 1 คลุกน้ำหมาด ๆ ปิดขอนเห็ดที่ใส่เชื้อเห็ดแล้ว






5. นำขอนเห็ดไปเก็บพักไว้ในที่ร่มใต้ต้นไม้เพื่อเป็นการบ่มเชื้อเห็ด และถ้าอากาศแห้งควรรดน้ำให้ขอนเห็ดประมาณ 10 – 15 วันต่อครั้ง

4. การบ่มเชื้อ


เมื่อฝังเชื้อเห็ดเข้าไปในขอนเสร็จแล้ว ให้นำขอนไม้ไปเก็บพักไว้ในที่ร่ม ใต้ต้นไม้ โดยวางขอนไม้ให้เป็นซ้อนกันเป็นสี่ด้าน และไม่ให้ถูกแสงแดดและลมพัด เพราะจะทำให้ขอนไม้แห้งเร็วเกินไป เชื้อเห็ดจะเจริญขยายเส้นใยไม่ได้เต็มที่ โดยวางเรียงขอนไม้ซ้อนกันขึ้น การบ่มพักเชื้อจะใช้เวลานาน 3 - 4 เดือน หรืออาจนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของขอนไม้และชนิดของไม้ถ้าขอนไม้ใหญ่ใช้เวลานานขึ้น โดยเชื้อเห็ดจะอาศัยน้ำเลี้ยงจากเปลือกไม้เป็นอาหาร ดังนั้นถ้าขอนไม้แห้งเร็วเกินไปควรรดน้ำช่วยบ้าง 10 - 15 วันต่อครั้ง








5. การเปิดดอกหรือการทำให้เห็ดเกิดดอก


ถ้าเป็นขอนขนาดเล็ก เมื่อบ่มพักเชื้อครบ 4 เดือน แต่ถ้าเป็นขอนขนาดใหญ่ต้องรอไปอีกระยะ เมื่อเชื้อเห็ดเจริญได้ที่และเปลือกไม้เริ่มผุจนย่างเข้าถึงฤดูฝน เห็ดก็จะออกดอกขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องรดน้ำ ปล่อยให้เห็ดเกิดดอกตามธรรมชาติ ซึ่งผลปรากฏว่า เห็ดออกดอกได้ปีละ 3 - 5 ครั้ง และผลผลิตต่อขอนก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมมาก โดยช่วงเวลาที่เห็ดออกดอกได้ดีเป็นช่วงเวลากลางคืน ถึงเช้ามืด






--------------------------------------------------------------------------------







1.วิธีการดำเนินงาน

1. จัดทำแผนปฏิบัติงาน
2. ศึกษาวิธีการและขั้นตอนในการเพาะเห็ดจากครูที่ปรึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจากแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดของโรงเรียน
3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเห็ด
4. ดำเนินการเพาะเห็ดตามขั้นตอนที่ศึกษา
5. จดบันทึกข้อมูลจากการทดลองตั้งแต่เริ่มเพาะเห็ดจนถึงการเก็บผลผลิต
6. รวบรวมข้อมูลจากการจดบันทึกไปนำเสนอให้ครูที่ปรึกษาตรวจสอบ
7. พิมพ์รายงานสรุปผลการทดลอง/ผลการดำเนินงาน
2. แผนการปฏิบัติงาน

วัน/เดือน/ปี
แหล่งการเรียนรู้/วิธีการศึกษา
ผลการปฏิบัติงาน

2 กุมภาพันธ์ 50
วางแผนการปฏิบัติงาน
ดำเนินการปฏิบัติตามแผน

5 กุมภาพันธ์ 50
ศึกษาวิธีการและขั้นตอน

ในการเพาะเห็ดจากวิทยากร/แหล่งเรียนรู้
- ศึกษาวิธีการและขั้นตอนการเพาะเห็ดจากครูที่ปรึกษาและห้องสมุดโรงเรียน

- ศึกษาดูงานการเพาะเห็ดจากชุมชน

6 กุมภาพันธ์ 50
เตรียมวัสดุอุปกรณ์
- จัดหา ขอนไม้ เชื้อเห็ด ซีเมนต์ ทราย คุถัง สว่าน

7 กุมภาพันธ์ 50
ดำเนินการเพาะเห็ด
- ดำเนินการเพาะเห็ดตามขั้นตอนที่ศึกษา

7 กุมภาพันธ์ 50

- 1 มิถุนายน 50
จดบันทึกและรวบรวมข้อมูล


- จดบันทึกข้อมูลตั้งแต่เริ่มเพาะเห็ด การดูแลรักษา

จนถึงการเก็บผลผลิตแล้วสรุปข้อมูล

กุมภาพันธ์ 50
พิมพ์รายงานสรุปผลการทดลอง/ผลการดำเนินงาน
- จัดพิมพ์รายงานสรุปผลการดำเนินงานโดย

1. เด็กชายฤทธิชัย จันทะคุณ

2. เด็กหญิงศิริรัตน์ วงค์ตา

3. เด็กหญิงรัชนีกร คำวัน





อุปกรณ์การศึกษา 1. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านปลาปากน้อย
2. ครูที่ปรึกษา คุณครูดนตรี เชื้อสาทุม
3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. อุปกรณ์การเขียน สมุด ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด แบบบันทึก กล้องถ่ายรูป


--------------------------------------------------------------------------------




1. ทำให้ทราบว่าไม้ในท้องถิ่นของบ้านปลาปากน้อยที่สามารถนำมาเพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด)ได้คือ ไม้มะม่วง ไม้เต็ง ไม้รัง
2. เห็ดจะออกดอกได้ดีเมื่อนำขอนเห็ดไปวางไว้ใต้ร่มไม้และควรรดน้ำขอนเห็ดในช่วงที่ฝนไม่ตก 10 – 15 วันต่อครั้ง
3. ฤดูที่เห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด) ออดดอกได้ดีและมีผลผลิตสูงคือช่วงต้นฤดูฝนและช่วงปลายฤดูฝน
4. เห็ดออกดอกได้ปีละ 3 - 5 ครั้ง


ข้อเสนอแนะ
1. ในการจัดวางเรียงขอนเห็ดให้เป็นชั้น ๆ นั้น ควรนำวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน เช่น อิฐบล็อก หรือท่อนซีเมนต์ มาวางรองขอนเห็ดไว้เพื่อไม่ให้ขอนติดดินและป้องกันไม่ให้ปลวกขึ้นกัดกินเนื้อไม้

เอกสารอ้างอิง


- ใบความรู้การปลูกเห็ดลม และเห็ดขอนขาว ของขวัญชัย พันธ์หมุด คณะพืชศาสตร์วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม
- กระทรวงศึกษาธิการ,หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษา ปีที่5,6,2547 โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว: กรุงเทพมหานคร

โครงงานอาชีพ

ตัวอย่างโครงงานการอาชีพ เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง โครงงานการงานอาชีพ

เรื่อง

เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส




คณะผู้จัดทำโครงงาน
๑.เด็กชายมนต์รัก หาบุญมา ชั้น ม . ๒ เลขที่ ๑๒

๒.เด็กชายเอกลักษณ์ ทองราช ชั้น ม . ๒ เลขที่ ๑๕

๓.เด็กหญิงมินตรา พระลิต ชั้น ม . ๒ เลขที่ ๒๗

๔.เด็กหญิงอังคณา นุสนทรา ชั้น ม . ๒ เลขที่ ๒๒

๕.เด็กชายสุจินดา นาเจริญ ชั้น ม . ๒ เลขที่ ๗

๖.เด็กชายจิรกฤต ปะสาวะนัง ชั้น ม . ๒ เลขที่ ๑๓

๗.เด็กหญิงสุริฉาย ประวันเณย์ ชั้น ม . ๒ เลขที่ ๒๔

๘.เด็กชายจิรายุทธ จำเริญขวัญ ชั้น ม . ๒ เลขที่ ๑๔

๙.เด็กชายอาทิตย์ สังสีราช ชั้น ม . ๒ เลขที่ ๔

๑๐.เด็กชายณัฐกานณ์ สิงห์สถิต ชั้น ม . ๒ เลขที่ ๑



คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน
นาย จำรัส เจริญนนท์

โรงเรียนบ้านโสกแดง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม



รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ประเภทโครงงานสำรวจการเรียนรู้การงานอาชีพ รหัสวิชา ง ๓๒๑๐๑







หัวข้อโครงงาน เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส

ผู้จัดทำ

๑.เด็กชายมนต์รัก หาบุญมา

๒.เด็กชายเอกลักษณ์ ทองราช

๓.เด็กหญิงมินตรา พระลิต

๔.เด็กหญิงอังคณา นุสนทรา

๕.เด็กชายสุจินดา นาเจริญ

๖.เด็กชายจิรกฤต ปะสาวะนัง

๗.เด็กหญิงสุริฉาย ประวันเณย์

๘.เด็กชายจิรายุทธ จำเริญขวัญ

๙.เด็กชายอาทิตย์ สังสีราช

๑๐.เด็กชายณัฐกานณ์ สิงห์สถิต

ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน นาย จำรัส เจริญนนท์

โรงเรียน บ้านโสกแดง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ปีการศึกษา ๒๕๕๒



บทคัดย่อ
โครงงานการงานอาชีพเรื่อง เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับแนวพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคณะผู้จัดทำได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต และศึกษาสัมภาษณ์จากชาวบ้าน จากชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงที่ปลูกพืชผักสวนครัว คณะผู้จัดทำได้ความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆแล้ว ก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้นเป็นโครงงาน เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ และเมื่อได้ความรู้แล้วก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ก็ทำให้เกิด ความพอเพียง พอมี พอกิน

ผลการศึกษาโครงงาน โครงงานพบว่ามีเกษตรต่าง ๆหลายประเภททั้งจากอินเทอร์เน็ตและจากการสัมภาษณ์ชุมชนใกล้เคียง เช่น ผักกาด ผักหอม เป็นต้น เราสามารถนำมาปลูกและประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงได้

โดยสรุป โครงงานเรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาใช้เพื่ออาหาร และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ชาวบ้านชุมชนใกล้เคียง เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง





กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาโครงงานเรื่องนี้สำเร็จ ได้ด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจาก คุณครู จำรัส เจริญนนท์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี คณะผู้ศึกษาจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง

ขอขอบพระคุณผู้ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครูโรงเรียนบ้านโสกแดง ที่อนุเคราะห์และอำนวยความสะดวกแหล่งค้นคว้าข้อมูล

ขอขอบพระคุณเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่ให้กำลังใจด้วยดีเสมอมา

ขอขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่และญาติทุกคนของคณะผู้ศึกษา ที่คอยเป็นกำลังใจอันสำคัญยิ่งให้แก่คณะผู้ศึกษาค้นคว้าจนประสบผลสำเร็จ

คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาค้นคว้าขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา มารดาบูรพาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน



คณะผู้จัดทำ





บทที่ ๑
บทนำ


ที่มาและความสำคัญ
เนื่องด้วยคณะผู้ศึกษาไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ มีแนวความคิดจัดทำโครงงานการงานอาชีพ เรื่อง เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส อยากมีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อที่จะได้ออก สัมภาษณ์ ลงมือปฏิบัติจริง และได้ศึกษาค้นค้าหาความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ด้วยตนเอง และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น บ้านหนองไผ่ บ้านไผ่ล้อม บ้านโสกแดง บ้านโนนสะพัง และมีควาเชี่ยวชาญเรื่องเกษตรต่าง ๆ มาก ๆ และมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริงและสามารถสอบเรื่องเกษตร ได้ผลสัมฤทธิ์ ในระดับดี ในภาคเรียนต่อ ๆมา



วิชาการงานอาชีพทุกคนต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ การศึกษาโครงงาน เรื่อง เกษตรพอเพียง พระราชดำรัส จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าต้องการรู้จักเรื่องเกษตรต่าง ๆ ของพืชผักต่าง ๆ

เช่น ผักกาด ผักหอม เป็นต้น ได้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มาก



จากข้อความดังกล่าว คณะผู้ศึกษาจึงทำโครงงาน เรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส ขึ้น



วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษา สัมภาษณ์ เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส จากชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง และจาอินเทอร์เน็ต

๒. เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส

๓. เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง

สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
คณะผู้จัดทำไม่รู้เรื่องเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสมากพอ และไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริง



ความมุ่งหมายของการศึกษา
เพื่อรวบรวมข้อมูล เรื่องเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส จัดทำขึ้นเป็นโครงงานการงานอาชีพ



ความสำคัญของการศึกษา
ทำให้ทราบเรื่อง เกษตรพอเพียง ตาแนวพระราชดำรัส รู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ มากมาย



ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต และสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น บ้านหนองไผ่ บ้านไผ่ล้อม



นิยามศัพท์เฉพาะ
เกษตร หมายถึง ที่ดิน , ทุ่ง , นา , ไร่ เช่น พุทธเกษตร

พอเพียง หมายถึง ได้เท่าที่กะไว้ เช่น ได้เท่านี้ก็พอแล้ว

พระราชดำรัส หมายถึง คำสั่งสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ศึกษา หมายถึง การเล่าเรียน , ฝึกฝน , และอบรม

ค้นคว้า หมายถึง ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา , เสาะหาเอามา



บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง


เอกสารที่สารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวของเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาโครงงาน ดังหัวข้อต่อไปนี้



เอกสารที่เกี่ยวข้อง


อินเทอร์เน็ต WWW.GOOGLE. COM ได้แก่ ได้รู้จักวิธีปลูกพืชผักสวนครัวต่าง ๆ คือ ผักกาด ผักหอม ผักซี ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง พริก กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง



หนังสือกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชัน ม. ๒ ได้แก่ ความรู้เพิ่มเติม เรื่อง เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



ตัวอย่างแบบ โครงงานภาษาไทย ได้แก่ บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ ที่มาและความสำคัญ วิธีดำเนินงาน



หนังสือเสริมความรู้ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความรู้ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่ามีความเป็นมาแบบใด มีแนวปฏิบัติแบบใด ประยุกต์ได้แบบใด



บทที่ ๓
วิธีดำเนินงาน


วิธีดำเนินงาน


ลำดับ
ขั้นตอนการศึกษา
ระยะเวลาดำเนินการ

๑.
กำหนดปัญหา
๑๐ พ.ย ๕๒

๒.
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ เรื่อง เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส
๑๑ พ.ย ๕๒

๓.
รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ สัมภาษณ์ ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น บ้านหนองไผ่ บ้านไผ่ล้อม เป็นต้น
๑๓ พ.ย ๕๒

๔.
ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต
๑๕ พ.ย ๕๒

๕.
รวบรวมข้อมูลที่ได้
๑๖ พ.ย ๕๒

๖.
จัดทำรูปเล่มรายงานขึ้น เพื่อออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้น ม. ๒ และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
๑๗ พ.ย ๕๒

๗.
ออกเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโครง
๑๙ พ.ย ๕๒

๘.
นำความรู้ที่ได้มา จัดทำขึ้นผังโครงงาน
๒๒ พ.ย ๕๒

๙.
ฝึกซ้อมการนำเสนอโครงงาน เรื่อง เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส
๒๓ พ.ย ๕๒

๑๐.
นำเสนอโครงงาน
๓๐ พ.ย ๕๒




บทที่ ๔
ผลการศึกษาค้นคว้า


ผลการศึกษาค้นคว้า
ผลการศึกษาค้นคว้า เรื่อง เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส จากการ สัมภาษณ์ ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง และจากอินเทอร์เน็ต ปรากฏการศึกษา ดังต่อไปนี้



บทที่ ๕
สรุปผล อภิปรายผล ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ


การศึกษาโครงงาน เรื่อง เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส สรุปผลได้

ดังนี้



สรุปผล
จากการศึกษาและสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง ได้ศึกษาพืชผักต่าง ๆ จำนวน ๙ ชนิด คือ ผักกาด ผักหอม ผักซี ผักคะน้า พริก กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้งผักบุ้ง ผักกาดขาว ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชผักต่าง ๆ และอื่น ๆ ผู้ศึกษาจึงได้นำผลการเรียนรู้ออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ อ.แกดำ จ.มหาสารคาม และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง ได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและสามารถปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ได้ผลสัมฤทธิ์ในระดับดี



อภิปรายผล

จากการศึกษา เรื่องเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ทำให้รู้ถึง ลักษณะการปลูกพืชผักต่าง ๆ มีดังนี้

๑. ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกาด

๒.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักหอม

๓.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักซี

๔.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักคะน้า

๕.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก พริก

๖.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก กะหล่ำปลี

๗.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกวางตุ้ง

๘.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกาดขาว

๙.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักบุ้ง



ประโยชน์ที่ได้รับ
๑. รู้และเข้าใจ เรื่อง เกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส

๒. ได้ออกเผยแพร่ให้ความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง

๓. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการจัดทำโครงงานนำไปปฏิบัติจริงที่บ้าน และที่โรงเรียน

๔. ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ

๕. ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข้อเสนอแนะ
๑. ในโอกาสต่อไปอยากออกเผยแพร่ทั่ว ตำบลโนนภิบาล

๒. อยากทำแผ่นพับออกเผยแพร่ให้ได้มากที่สุด

๓. อยากนำความรู้ที่ได้มาทำเป็นกิจการขนาดใหญ่ และนำผักปลอดสารพิษออกขายในท้องตลาด

เกษตรทฤษฎีใหม่

ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน และการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะในเขตที่ใช้น้ำฝนทำนาเป็นหลัก เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูง เป็นเหตุให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหา จึงได้พระราชทาน "ทฤษฎีใหม่" ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ประมาณ ๑๕ ไร่ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาอย่างเหมาะสม ด้วยการจัดสรรการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยให้มีการจัดสร้างแหล่งน้ำในที่ดินสำหรับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ให้มีรายได้ใว้ใช้จ่ายและมีอาหารใว้บริโภคตลอดปี (กรมวิชาการ, ๒๕๓๙: ๗๗) ซึ่งได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพื่อการผลิตทางเกษตรกรรมที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า "…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…" (สำนักพระราชวัง, ๒๕๔๒: ๓๑)






“ทฤษฎีใหม่” นี้ที่จริงพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำมานานแล้ว โดยให้เกษตรทำการปลูกพืชหมุนเวียน และ หรือปลูกพืชไว้ให้หลายหลากชนิด บนพื้นที่เดียวกันอย่างที่เรียกว่า ไร่นาผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงไม่ให้เกิดความเสียหายเมื่อตลาดหรือสภาพแวดล้อมเกิดความแปรปรวน หรือวิกฤติ เรื่องนี้พระองค์ได้ทรงนำมาเน้นย้ำอีก เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเผ้าพระพรชัยมงคลในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา สาระเกี่ยวกับเรื่อง “ทฤษฎีใหม่” มีเนื้อความดังต่อไปนี้
“ทฤษฎีใหม่นี้มิได้เป็นการแจกจ่ายที่ดิน เป็นที่ดินของประชาชนเอง เรื่องนี้เริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี ที่ต้องพูดเพราะว่าแม้ได้พูดเรื่องที่เป็นต้นเหตุของเรื่องนี้มาแล้ว แต่ว่าไม่ได้พูดอย่างชัดแจ้ง เรื่องนี้เริ่มที่สระบุรีเมื่อหลายปีแล้ว ก่อนหน้านั้นได้มีจินตนาการความคิดฝันไม่ได้ไปดูตำราไม่ได้ค้นตำรา แต่ค้นในความคิดฝันในจินตนาการ เรานึกถึงว่าจะต้องมีแห่งหนึ่งที่จะเข้ากับเรื่องของเรา
เรื่องของเราเกี่ยวข้องกับบุคคลหนึ่งที่มีบรรพบุรุษมาจากอินเดีย ผ่านลังกาแล้วมายังเมืองไทยบรรพบุรุษเขาไปพระพุทธบาทสระบุรี พระเจ้าอยู่หัวในครั้งก่อนโน้น โปรดเสด็จไปสระบุรีกับเสนามาตย์เพื่อนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ใกล้อำเภอเมือง มีวัดแห่งหนึ่งชื่อว่า “วัดมงคล” เขาชอบเพราะคำว่า “มงคล” นั้นมันดี มันเป็นมงคล มันก้าวหน้า เขาผ่านมาและได้ไปดูวัดแห่งนั้นและได้บริจาคเงินให้กับวัดสำหรับสร้างอุโบสถ ปู่ของพระเอกก็ยังได้ให้เงินส่วนหนึ่งสำหรับสร้างฝายเพราะที่ตรงนั้นไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับทำนา นี่ก็ประมาณ 90 ปีมาแล้ว ลงท้ายเรื่องนี้ซึ่งเป็นเรื่องในจินตนาการก็เป็นจริง
ได้ดูแผนที่สระบุรีทุกอำเภอ หาๆ ไปลงท้ายได้เจอวัดชื่อมงคลอยู่ห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วก็เหมาะในการพัฒนา จึงไปซื้อที่ ซื้อด้วยเงินส่วนตัว และเพื่อนฝูงได้ร่วมบริจาคเงินจำนวนหนึ่ง ได้ซื้อ 15 ไร่ ที่ใกล้วัดมงคล หมู่บ้านวัดใหม่มงคล ได้ส่งคนไปพบชาวบ้าน เขาก็ไม่ทราบว่ามาจากไหน ไปพบชาวบ้านสืบถามว่าที่นี่มีที่จะขายไหม เขาก็เชิญขึ้นไปบนบ้าน แล้วเขาก็บอกว่าตรงนี้มี 15 ไร่ที่เขาจะขาย ในที่สุดก็ซื้อก่อนตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาก็เป็นเวลาประมาณ 7 ปี ไปซื้อที่ตรงนั้นคนพวกนั้นก็งงกัน เขาเล่าให้ฟังว่ามีคนเขาฝันว่าพระเจ้าอยู่หัวมาแล้วก็มาช่วยเขา เขาก็ไม่ทราบว่าคนที่มานี่เป็นใคร แต่สักครู่หนึ่งเขามองไปที่ปฏิทินเขามองดู เอ๊ะ คนนี้ คนที่อยู่ข้างหลังพระเจ้าอยู่หัวนั่น เอ๊ะ คนนี้ก็อยู่ข้างหลังพระเจ้าอยู่หัวในรูปใกล้ๆ เขาก็เลยนึกว่า เอ๊ะ พวกนี้มาจากพระเจ้าอยู่หัว เขาก็เลยบอกว่าขายที่นั่น ก็เลยซื้อที่ 15 ไร่ และไปทำศูนย์บริการ
ทางราชการโดยกรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ทางนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้ช่วยกันทำโครงการนี้ โครงการนี้ใช้เงินของมูลนิธิชัยพัฒนาส่วนหนึ่ง ใช้เงินของราชการส่วนหนึ่ง โดยวิธีขุดบ่อน้ำเพื่อใช้น้ำนั้นมาทำการเพราะปลูกตาม “ทฤษฎีใหม่” ซึ่ง “ทฤษฎีใหม่” นี้ยังไม่เกิดขึ้น พอดีขุดบ่อน้ำนั้น ต่อมาก็ซื้อที่อีก 30 ไร่ ก็กลายเป็นศูนย์พัฒนาหลักมีว่าแบ่งที่ดินเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่สำหรับปลูกข้าว อีกส่วนหนึ่งสำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวนและก็มีทั้งสำหรับขุดสระน้ำ ดำเนินการไปแล้ว ทำอย่างธรรมชาติอย่างชาวบ้าน ในที่สุดก็ได้ข้าวและได้ผัก ขายข้าวและผักนี่มีกำไร 2 หมื่นบาท
2 หมื่นบาทต่อปี หมายความว่าโครงการนี้ใช้การได้ เมื่อใช้งานได้ก็ขยายโครงการ “ทฤษฎีใหม่” นี้ โดยให้ทำที่อื่น นอกจากมีสระน้ำในที่นี้แล้วจะต้องมีอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่กว่าอีกแห่งเพื่อเสริมสระน้ำ ในการนี้ก็ได้รับความร่วมมือจากบริษัทเอกชนซื้อที่ด้วยราคาที่เป็นธรรม ไม่ใช่ไปเวนคืนและสร้างอ่างเก็บน้ำ
ฉะนั้น ในบริเวณนั้นจะเกิดเป็นบริเวณที่พัฒนาแบบใหม่ ถึงเรียกว่า “ทฤษฎีใหม่” ซึ่งเข้าใจว่าจะดำเนินการไปได้ในที่นี้แต่ที่อื่นยังไม่ทราบว่าจะทำได้หรือไม่ ที่นายกฯ บอกว่าจะขยายทฤษฎีนี้ไปทั่วประเทศก็ยังไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ เพราะว่าต้องมีปัจจัยสำคัญคือปัจจัยน้ำ แล้วก็ต้องสามารถที่จะให้ประชาชนเข้าใจและยินยอม ถ้าเขาไม่ยินยอมก็ทำไม่ได้ถึงมาทำที่กาฬสินธุ์ที่เคยเล่าให้ฟังในชุมชนอย่างนี้แล้วว่าทำที่อำเภอเขาวง (โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านแดนสามัคคี บ้านกุดตอนแก่น บ้านคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์) ที่ไปปีนั้น เล่าเรื่องที่เดินทางไป “ทางดิสโก้” เป็นทางทุลักทุเลมาก ที่ “ทางดิสโก้” ขอแจ้งให้ทราบว่าปีแรกทำนา 12 ไร่ ได้ข้าวตามที่กะเอาไว้ พอสำหรับผู้ที่อยู่ตรงนั้นพอกินได้ในตลอดปี จึงทำให้ประชาชนในละแวกนั้นมีความเลื่อมใสและยินดียินยอมให้ทำแบบนี้ในที่ของเขาอีก 10 แปลง หลังจากที่ทำอีก 10 แปลงก็ได้ผล ปีนี้เขาขออีกร้อยแปลง
การขุดสระนั้นก็ต้องสิ้นเปลือง ชาวบ้านไม่สามารถที่จะออกค่าใช้จ่ายสำหรับการขุดก็ต้องออกให้เขา มูลนิธิชัยพัฒนาและทางรายการก็ได้ช่วยกันทำ โดยที่ชาวบ้านไม่ต้องสิ้นเปลืองมากมายฉะนั้น “ทฤษฎีใหม่” นี่จะขยายต่อไป อาจจะทั่วประเทศ แต่ต้องช้าๆ เพราะว่าจะต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย แต่ว่าจะค่อยๆ ทำและเมื่อทำแล้วก็นึกว่าเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนมีกินแบบตามอัตภาพ คือไม่รวยมาก แต่ก็พอกิน ไม่อดอยาก ฉะนั้น ก็นึกว่า “ทฤษฎีใหม่” นี้คงมีประโยชน์ได้ แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง

จากคำบรรยายของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล คงให้ความหมายของ “ทฤษฎีใหม่” ได้ว่าทฤษฎีใหม่ หมายถึงหลักการที่เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินอยู่ประมาณ 15 ไร่ ให้มีน้ำในการเกษตรและการเป็นอยู่อย่างพอเพียง เพื่อความพออยู่พอกิน ไม่อดอยาก มีปัจจัยสี่บำรุงชีวิตอย่างพอเพียงไม่ขาดแคลน และมีชีวิตที่เป็นสุขพอสมควรแก่อัตภาพ
พระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาคือที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินการทฤษฎีใหม่ ได้พระราชทานขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้

ขั้นที่ ๑ ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น สถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ ๑ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯ ได้ด้วย) พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ๑๐% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนเป็นระยะเวลาพอสมควรจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น "พออยู่พอกิน" ไปสู่ขั้น "พอมีอันจะกิน" เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไปตามลำดับ (มูลนิธิชัยพัฒนา, ๒๕๔๒)





ขั้นที่ ๒ ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
(๑) การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
(๒) การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
(๓) ความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
(๔) สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ
(๕) การศึกษา มีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
(๖) สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว





กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ

ขั้นที่ ๓ ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุระกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ซื้อในราคาขายส่ง)
ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)
ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปทำการทดลองขยายผล ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต จำนวน ๒๕ แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพภาค กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการดำเนินงานให้มีการนำเอาทฤษฎีใหม่นี้ไปใช้อย่างกว้างขวางขึ้น

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง


“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ



ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาขนโดยทั่วไป



" เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy
… คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ.
จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่
… Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา
เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ …
และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า
เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ
เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น. "

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542




Sufficiency Economy

“Sufficiency Economy” is a philosophy bestowed by His Majesty the King to his subjects through royal remarks on many occasions over the past three decades. The philosophy provides guidance on appropriate conduct covering numerous aspects of life. After the economic crisis in 1997, His Majesty reiterated and expanded on the “Sufficiency Economy” in remarks made in December 1997 and 1998. The philosophy points the way for recovery that will lead to a more resilient and sustainable economy, better able to meet the challenges arising from globalization and other changes.



Philosophy of the “Sufficiency Economy”

“Sufficiency Economy” is a philosophy that stresses the middle path as an overriding principle for appropriate conduct by the populace at all levels. This applies to conduct starting from the level of the families, communities, as well as the level of nation in development and administration so as to modernize in line with the forces of globalization. “Sufficiency” means moderation, reasonableness, and the need of self-immunity for sufficient protection from impact arising from internal and external changes. To achieve this, an application of knowledge with due consideration and prudence is essential. In particular great care is needed in the utilization of theories and methodologies for planning and implementation in every step. At the same time, it is essential to strengthen the moral fibre of the nation, so that everyone, particularly public officials, academics, businessmen at all bevels, adheres first and foremost to the principles of honesty and integrity. In addition, a way of life based on patience, perseverance, diligence, wisdom and prudence is indispensable to create balance and be able to cope appropriately with critical challenges arising from extensive and rapid socioeconomic, environmental, and cultural changes in the world.”

Unofficial translation. A working definition compiled from remarks made by His Majesty the King on various occasions and approved by His Majesty and sent by His Majesty's principal Private Secretary to the NESDB on November 29,1999



" อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า
ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป
แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร
บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้
แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก "

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540