วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานอาชีพ

โครงงาน


กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด)







จัดทำโดย

เด็กชายฤทธิชัย จันทะคุณ

เด็กหญิงศิริรัตน์ วงค์ตา

เด็กหญิงรัชนีกร คำวัน


ช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านปลาปากน้อย


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1


ครูที่ปรึกษา

นายดนตรี เชื้อสาทุม นางชุติมา สุวรรณบำรุง


--------------------------------------------------------------------------------





1.ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

แต่ก่อนพื้นที่ป่าในบนปลาปากน้อยมีมาก ป่าก็มีความอุดสมบูรณ์ ของป่าต่าง ๆ เช่น เห็ดบด เห็ดขอนขาว เห็ดละโงก เห็ดดินต่าง ๆ ผักหวาน ไข่มดแดง แมงแครง ก็มีจำนวนพอเพียงกับชาวบ้าน ต่อมาเมื่อประชากรเริ่มมีมากขึ้น ชาวบ้านก็ทำการแผ้วถางป่าและบุกรุกป่ามากขึ้นทำให้พื้นที่ป่าลดลง จำนวนของป่าหรืออาหารตามธรรมชาติก็ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงพอต่อความต้องการและเริ่มหายากขึ้นเรื่อย ๆ

อนึ่งไม้ที่ถูกแผ้วถางออกนี้ มักจะถูกเผาทิ้งเป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็นำไปทำเป็นเสารั้วซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างไม่คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการนำไม้ดังกล่าว มาทำการทดลองเพาะเห็ด โดยได้นำไปปรึกษาคณะครูโรงเรียนบ้านปลาปากน้อย ซึ่งคณะครูเห็นชอบให้นักเรียนทำการศึกษาเป็นโครงงานอย่างลุ่มลึก โดยศึกษาในลักษณะเป็นการทดลอง เห็ดที่จะนำมาทดลองนั้นครูดนตรี เชื้อสาทุม ได้แนะนำให้ปลูกเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด) เนื่องจากในชุมชนใกล้เคียงมีเชื้อเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด)ไว้บริการ และเห็ดทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นที่ต้องการของท้องตลาดมาก

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียนและสามารถนำไปประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมในอนาคตได้
2. เพื่อนำเห็ดที่ได้มาประกอบอาหารกลางวันและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม

3. วิธีการศึกษา
1. ศึกษาและค้นคว้ารายละเอียดในเรื่อง วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการดำเนินงาน
จากหนังสืออื่น ๆที่เกี่ยวข้องและจากวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ดำเนินการเพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด) ตามขั้นตอนที่ศึกษา
3. สังเกตและจดบันทึกข้อมูล
4. นำข้อมูลที่ได้มาเขียนเค้าโครงของโครงงาน
5. เรียบเรียงข้อมูล
6. เขียนรายงาน
7. เตรียมนำเสนอ


--------------------------------------------------------------------------------







เห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด) เป็นเห็ดพื้นเมืองที่มีรสชาติดี เป็นที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายในหมู่ของคนไทย โดยเฉพาะทางภาคอิสานและภาคเหนือ เห็ดลมมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น เห็ดกระด้าง เห็ดบด เห็ดขอนดำ ตามธรรมชาติเห็ดลม(เห็ดบด) และเห็ดขอนขาวจะออกดอกตามขอนไม้ในป่าในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน แต่ในปัจจุบันป่าไม้ถูกแผ้วถางเพื่อนำไปเป็นพื้นที่ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นในช่วงฤดูแล้งยังเกิดไฟป่าเผาทำลายขอนไม้แห้งในป่าจนเกือบหมด ทำให้เห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด) ตามธรรมชาติมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ จนแทบจะหาเก็บมาบริโภคกันไม่ได้อีกแล้ว





1. ชนิดของไม้ที่ใช้เพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด)




ไม้มะม่วง





ไม้เต็ง ไม้รัง


2.วัสดุอุปกรณ์
1. ขอนไม้มะม่วง ไม้เต็ง ไม้รัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 6 นิ้ว ยาว 1.50 เมตร
2. เชื้อเห็ด
3. ทราย
4. ปูนซีเมนต์
5. คุถัง
6. สว่าน
7. ไม้สำหรับอัดกดเชื้อเห็ด







ปูนซีเมนต์


ทราย






ขอนไม้

เชื้อเห็ด







สว่าน

คุถัง/กาละมัง






ไม้สำหรับอัดกดเชื้อเห็ด




3. วิธีการและขั้นตอนการเพาะเห็ด




1. เตรียมท่อนไม้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์ 4 – 6 นิ้ว ความยาว 1.50 เมตร







2. ใช้สว่านไฟฟ้าขนาด 5 - 6 หุน เจาะขอนไม้ที่เตรียมไว้เป็นรูให้มีความลึกประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร โดยทำเป็นแถวๆ ตามความยาวของไม้ และให้แต่ละแถวให้ห่างกันประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร แต่ละขอนเจาะรูจำนวนเท่ากัน



3. นำเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้( เปิดถุงเชื้อเห็ดแล้วแกะใส่คุถัง และใช้มือบีบขยำเชื้อเห็ดให้แตกจนละเอียด) ยัดลงไปในรูที่เจาะจนเต็มรู แล้วใช้ไม้ขนาดเท่ารูกดและดันเชื้อเห็ดให้แน่นจนเต็มรู






4. ใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายอัตราส่วน 1 : 1 คลุกน้ำหมาด ๆ ปิดขอนเห็ดที่ใส่เชื้อเห็ดแล้ว






5. นำขอนเห็ดไปเก็บพักไว้ในที่ร่มใต้ต้นไม้เพื่อเป็นการบ่มเชื้อเห็ด และถ้าอากาศแห้งควรรดน้ำให้ขอนเห็ดประมาณ 10 – 15 วันต่อครั้ง

4. การบ่มเชื้อ


เมื่อฝังเชื้อเห็ดเข้าไปในขอนเสร็จแล้ว ให้นำขอนไม้ไปเก็บพักไว้ในที่ร่ม ใต้ต้นไม้ โดยวางขอนไม้ให้เป็นซ้อนกันเป็นสี่ด้าน และไม่ให้ถูกแสงแดดและลมพัด เพราะจะทำให้ขอนไม้แห้งเร็วเกินไป เชื้อเห็ดจะเจริญขยายเส้นใยไม่ได้เต็มที่ โดยวางเรียงขอนไม้ซ้อนกันขึ้น การบ่มพักเชื้อจะใช้เวลานาน 3 - 4 เดือน หรืออาจนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของขอนไม้และชนิดของไม้ถ้าขอนไม้ใหญ่ใช้เวลานานขึ้น โดยเชื้อเห็ดจะอาศัยน้ำเลี้ยงจากเปลือกไม้เป็นอาหาร ดังนั้นถ้าขอนไม้แห้งเร็วเกินไปควรรดน้ำช่วยบ้าง 10 - 15 วันต่อครั้ง








5. การเปิดดอกหรือการทำให้เห็ดเกิดดอก


ถ้าเป็นขอนขนาดเล็ก เมื่อบ่มพักเชื้อครบ 4 เดือน แต่ถ้าเป็นขอนขนาดใหญ่ต้องรอไปอีกระยะ เมื่อเชื้อเห็ดเจริญได้ที่และเปลือกไม้เริ่มผุจนย่างเข้าถึงฤดูฝน เห็ดก็จะออกดอกขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องรดน้ำ ปล่อยให้เห็ดเกิดดอกตามธรรมชาติ ซึ่งผลปรากฏว่า เห็ดออกดอกได้ปีละ 3 - 5 ครั้ง และผลผลิตต่อขอนก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมมาก โดยช่วงเวลาที่เห็ดออกดอกได้ดีเป็นช่วงเวลากลางคืน ถึงเช้ามืด






--------------------------------------------------------------------------------







1.วิธีการดำเนินงาน

1. จัดทำแผนปฏิบัติงาน
2. ศึกษาวิธีการและขั้นตอนในการเพาะเห็ดจากครูที่ปรึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจากแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดของโรงเรียน
3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเห็ด
4. ดำเนินการเพาะเห็ดตามขั้นตอนที่ศึกษา
5. จดบันทึกข้อมูลจากการทดลองตั้งแต่เริ่มเพาะเห็ดจนถึงการเก็บผลผลิต
6. รวบรวมข้อมูลจากการจดบันทึกไปนำเสนอให้ครูที่ปรึกษาตรวจสอบ
7. พิมพ์รายงานสรุปผลการทดลอง/ผลการดำเนินงาน
2. แผนการปฏิบัติงาน

วัน/เดือน/ปี
แหล่งการเรียนรู้/วิธีการศึกษา
ผลการปฏิบัติงาน

2 กุมภาพันธ์ 50
วางแผนการปฏิบัติงาน
ดำเนินการปฏิบัติตามแผน

5 กุมภาพันธ์ 50
ศึกษาวิธีการและขั้นตอน

ในการเพาะเห็ดจากวิทยากร/แหล่งเรียนรู้
- ศึกษาวิธีการและขั้นตอนการเพาะเห็ดจากครูที่ปรึกษาและห้องสมุดโรงเรียน

- ศึกษาดูงานการเพาะเห็ดจากชุมชน

6 กุมภาพันธ์ 50
เตรียมวัสดุอุปกรณ์
- จัดหา ขอนไม้ เชื้อเห็ด ซีเมนต์ ทราย คุถัง สว่าน

7 กุมภาพันธ์ 50
ดำเนินการเพาะเห็ด
- ดำเนินการเพาะเห็ดตามขั้นตอนที่ศึกษา

7 กุมภาพันธ์ 50

- 1 มิถุนายน 50
จดบันทึกและรวบรวมข้อมูล


- จดบันทึกข้อมูลตั้งแต่เริ่มเพาะเห็ด การดูแลรักษา

จนถึงการเก็บผลผลิตแล้วสรุปข้อมูล

กุมภาพันธ์ 50
พิมพ์รายงานสรุปผลการทดลอง/ผลการดำเนินงาน
- จัดพิมพ์รายงานสรุปผลการดำเนินงานโดย

1. เด็กชายฤทธิชัย จันทะคุณ

2. เด็กหญิงศิริรัตน์ วงค์ตา

3. เด็กหญิงรัชนีกร คำวัน





อุปกรณ์การศึกษา 1. ห้องสมุดโรงเรียนบ้านปลาปากน้อย
2. ครูที่ปรึกษา คุณครูดนตรี เชื้อสาทุม
3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. อุปกรณ์การเขียน สมุด ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด แบบบันทึก กล้องถ่ายรูป


--------------------------------------------------------------------------------




1. ทำให้ทราบว่าไม้ในท้องถิ่นของบ้านปลาปากน้อยที่สามารถนำมาเพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด)ได้คือ ไม้มะม่วง ไม้เต็ง ไม้รัง
2. เห็ดจะออกดอกได้ดีเมื่อนำขอนเห็ดไปวางไว้ใต้ร่มไม้และควรรดน้ำขอนเห็ดในช่วงที่ฝนไม่ตก 10 – 15 วันต่อครั้ง
3. ฤดูที่เห็ดขอนขาวและเห็ดลม(เห็ดบด) ออดดอกได้ดีและมีผลผลิตสูงคือช่วงต้นฤดูฝนและช่วงปลายฤดูฝน
4. เห็ดออกดอกได้ปีละ 3 - 5 ครั้ง


ข้อเสนอแนะ
1. ในการจัดวางเรียงขอนเห็ดให้เป็นชั้น ๆ นั้น ควรนำวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน เช่น อิฐบล็อก หรือท่อนซีเมนต์ มาวางรองขอนเห็ดไว้เพื่อไม่ให้ขอนติดดินและป้องกันไม่ให้ปลวกขึ้นกัดกินเนื้อไม้

เอกสารอ้างอิง


- ใบความรู้การปลูกเห็ดลม และเห็ดขอนขาว ของขวัญชัย พันธ์หมุด คณะพืชศาสตร์วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม
- กระทรวงศึกษาธิการ,หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษา ปีที่5,6,2547 โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว: กรุงเทพมหานคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น